Direction
ปรัชญา (Philosophy)
มุ่งมั่นเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้
ปณิธาน (Determination)
สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพการเรียน การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ แก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วิสัยทัศน์ (Vision)
ศูนย์รวมองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless) และสร้างสรรค์ (Creative) ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและระดับสากล
ค่านิยมหลัก (Corporate value)
วิสัยทัศน์ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ปี พ.ศ. 2563 คือ ศูนย์รวมองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและระดับสากล เพื่อก้าวสู่การสร้างองค์ความรู้ที่ไร้ขอบเขต
(Borderless Knowledge)
S
Service mind มีจิตบริการ
U
Unity มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
L
Learning ส่งเสริมการเรียนรู้
I
Inspiration แสวงหาแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างสรรค์
B
Borderless เปิดรับ เปิดกว้าง อย่าง
ไร้ขอบเขต
พันธกิจ (Mission)
เป็นหน่วยงานกลางด้านห้องสมุดและเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย รวบรวมเก็บรักษาและให้บริการด้านข้อมูลเอกสารโสตทัศนวัสดุ แก่นักศึกษา บุคลากร และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลภายนอก ส่งเสริมการผลิตสื่อและข้อสนเทศทางด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรมไทย สร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการ และภาระหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
แผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๗ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๗ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
๑
เพื่อพัฒนาศักยภาพของสำนักหอสมุดกลาง ให้มีรูปแบบการดำเนินงานในเชิงรุก
๒
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
๓
เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของสำนักหอสมุดกลางให้สอดคล้อง และบรรลุตามนโยบายของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
เพื่อผลักดันวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักหอสมุดกลางให้บรรลุผลสำเร็จ
สำนักหอสมุดกลางจึงกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ โดยจำแนกประเด็นยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ด้านการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัย เพียงพอ และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย โดยสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างไร้ขอบเขต (Borderless Resources)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้เพียงพอและทันสมัย ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. ร้อยละของจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังการจัดซื้อในปีงบประมาณที่ผ่านมา
๒. จำนวนหน่วยงาน / เครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภายในและภายนอก
๓. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการเข้าถึงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ด้านการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Knowledge Space) เพื่อสนับสนุนการค้นคว้า การสร้างสรรค์ และการร่วมมือ แลกเปลี่ยน ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และชุมชนโดยรอบเป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ที่ไร้กำแพง ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ รวมถึงมีการพัฒนาและการสร้างเนื้อหาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพ
๒. จำนวนการพัฒนาและการสร้างเนื้อหา เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (Digital Content)
๓. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อพื้นที่การเรียนรู้
๔. ร้อยละของจำนวนผู้ใช้บริการพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น
๕. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (Digital Content) เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ด้านการสร้างการเชื่อมต่อองค์ความรู้ภายในประชาคมศิลปากรสู่ชุมชนภายนอก เพื่อช่วยสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Learning Society)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการ เพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่า
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนโครงการบริการชุมชน
๒. จำนวนการจัดกิจกรรมและหลักสูตรระยะสั้น
๓. ความพึงพอใจของการให้บริการกิจกรรม/หลักสูตรระยะสั้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ด้านการจัดการคลังข้อมูลและคลังปัญญาอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล โดยเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี (Borderless Open Resource)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีคลังข้อมูลและคลังปัญญาแบบเปิดที่เป็นระบบตามมาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนระเบียนในคลังข้อมูลและคลังปัญญาที่เพิ่มขึ้น
๒. จำนวนการเข้าถึงคลังข้อมูลและคลังปัญญา
๓. มีระบบคลังข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ในลักษณะ One Stop Service
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้านการบริหารจัดการแบบไร้ขอบเขต (Borderless Management)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีระบบบริหารจัดการ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. มีระบบการบริหารจัดการ
๒. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาความรู้
ผลลัพธ์การดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของสำนักหอสมุดกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
1. งานตามค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/มาตรการ/ตัวชี้วัด/ตัวชี้วัด |
หน่วยวัด |
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
1. จำนวนนักเรียน/ผู้เรียน/ผู้ฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรม/แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการเข้าถึงสื่อในรูปแบบ Lifelong Learning | คน | 2,000 | 27,411 | 30,617 | 32,899 |
2. ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาและมีทักษะต่าง ๆ ตามกำหนด (ผู้บริหาร/สายวิชาการ/สายสนับสนุน | ร้อยละ | 80 | 100 | 100 | 100 |
3. ร้อยละของคณะ/ส่วนงาน (ไม่รวมสำนักงานอธิการบดี สำนักงานสภามหาวิทยาลัย) ที่ผ่านการประเมิน ด้านการกำกับดูแลและธรรมาภิบาลในระดับ A (ร้อยละ 85 ขึ้นไป) | ร้อยละ | 90 | 88.51 | 88.51 | 88.51 |
4. จำนวนโครงการในการลดต้นทุน หรือการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ (เช่น โครงการลดการใช้กระดาษ, โครงการประหยัดพลังงาน เป็นต้น) | โครงการ | 5 | 8 | 14 | 6 |
5. ร้อยละของบุคลากรสายสนับสนุนที่ได้รับการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อให้เกิด multiple skill ในการทำงาน | ร้อยละ | 65 | 100 | 100 | 100 |
2. งานตามนโยบาย / จุดเน้นของแผนพัฒนาสำนักหอสมุดกลาง
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/มาตรการ/ตัวชี้วัด/ตัวชี้วัด |
หน่วยวัด |
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
จุดเน้น/นโยบายที่ 1 การจัดสรรทรัพยากรสาร สนเทศให้ทันสมัย เพียงพอ และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย โดยสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างไร้ขอบเขต (Borderless Resources) | |||||
1.1 ร้อยละของจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังการจัดซื้อในปีงบประมาณที่ผ่านมา | ร้อยละ | ≥85% | 72.53 | 81.95 | 94.31 |
1.2 จำนวนหน่วยงาน/เครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภายในและภายนอก | แห่ง | 1 | 9 | 16 | 16 |
1.3 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการเข้าถึงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์ (See details...) | ร้อยละ | 15 | 15 | >41 (7.1 ก ข้อ 9) | 35.2 |
จุดเน้น/นโยบายที่ 2 การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ไร้ขอบเขต (Borderless Knowledge Space) | |||||
2.1 จำนวนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพ | แห่ง | 1 | 4 | 5 | 6 |
2.2 จำนวนการพัฒนาและการสร้างเนื้อหา เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (Digital Content) | เรื่อง | 12 | 160 | 160 | 765 |
2.3 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อพื้นที่การเรียนรู้ | ค่าเฉลี่ย | >3.75 | 4.51 | 4.28 | 4.35 |
2.4 ร้อยละของจำนวนผู้ใช้บริการพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น | ร้อยละ | 1.5 | 68.49 | 68.49 | 109.59 |
2.5 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น (Digital Content) | ร้อยละ | 2.5 | 44 | 44 | 152.48 |
จุดเน้น/นโยบายที่ 3 การสร้างการเชื่อมต่อองค์ความรู้ภายในประชาคมศิลปากรสู่ชุมชนภายนอก เพื่อช่วยสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Learning Society) | |||||
3.1 จำนวนโครงการบริการชุมชน | โครงการ | 2 | 6 | 28 | 7 |
3.2 จำนวนการจัดกิจกรรม/หลักสูตรระยะสั้น | กิจกรรม/หลักสูตร | 1 | 7 | 12 | 4 |
3.3 ความพึงพอใจของการให้บริการ กิจกรรม/หลักสูตรระยะสั้น | ค่าเฉลี่ย | ≥3.70 | 4.69 | 4.57 | 4.42 |
จุดเน้น/นโยบายที่ 4 การจัดการคลังข้อมูลและคลังปัญญาอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล โดยเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี (Borderless Open Resource) | |||||
4.1 จำนวนระเบียนในคลังข้อมูลและคลังปัญญาที่เพิ่มขึ้น | ระเบียน | 550 | 445 | 445 | 756 |
4.2 จำนวนการเข้าถึงคลังข้อมูลและคลังปัญญา | ครั้ง | 5,500 | 1,645,297 | 1,645,297 | 2,849,331 |
4.3 มีระบบคลังข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ในลักษณะ One stop service | ร้อยละของความสำเร็จ | 100 | 100 | 100 | 100 |
3. งานตามจุดเน้น/ เรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนา และขับเคลื่อนเพื่อให้ทันต่อภาวะพลิกผัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/มาตรการ/ตัวชี้วัด/ตัวชี้วัด |
หน่วยวัด |
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
ผลการดำเนินงาน |
จุดเน้นที่ 1 : ความเป็นนานาชาติ (การมีส่วนร่วมการผลักดันการจัดอันดับของมหาวิทยาลัย) | |||||
1. จำนวนแหล่งเรียนรู้ใหม่ที่สนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาบรรยากาศ ความเป็นนานาชาติ | แหล่งเรียนรู้ | 3 | 3 | 3 | 3 |
2. คะแนนความพึงพอใจของผู้ที่เข้ามารับบริการในแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาบรรยากาศความเป็นนานาชาติ (แหล่งเรียนรู้ใหม่ที่พัฒนาฯ ในข้อ 1) | คะแนนเฉลี่ย | 3.51 | 4.83 | 4.83 | 4.83 |
3. ร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศและบำรุงห้องสมุด ต่องบประมาณทั้งหมดของสำนักหอสมุดกลาง | ร้อยละ | 10 | 18.18 | 18.18 | 18.18 |