Direction
พันธกิจ
สำนักหอสมุดกลาง ตระหนักถึงพันธกิจและความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ จึงได้กำหนดปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และพันธกิจเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติงาน
ปรัชญา (Philosophy)
มุ่งมั่นเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้
ปณิธาน (Determination)
สนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพการเรียน การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ แก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยศิลปากร
วิสัยทัศน์ (Vision)
ศูนย์รวมองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless) และสร้างสรรค์ (Creative) ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและระดับสากล

ค่านิยมหลัก (Corporate value)
วิสัยทัศน์ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ปี พ.ศ. 2563 คือ ศูนย์รวมองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้และสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและระดับสากล เพื่อก้าวสู่การสร้างองค์ความรู้ที่ไร้ขอบเขต
(Borderless Knowledge)
S
Service mind มีจิตบริการ
U
Unity มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
L
Learning ส่งเสริมการเรียนรู้
I
Inspiration แสวงหาแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างสรรค์
B
Borderless เปิดรับ เปิดกว้าง อย่าง
ไร้ขอบเขต
พันธกิจ (Mission)
เป็นหน่วยงานกลางด้านห้องสมุดและเทคโนโลยีทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย รวบรวมเก็บรักษาและให้บริการด้านข้อมูลเอกสารโสตทัศนวัสดุ แก่นักศึกษา บุคลากร และหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคคลภายนอก ส่งเสริมการผลิตสื่อและข้อสนเทศทางด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรมไทย สร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการให้บริการ และภาระหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
แผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๗ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๗ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
๑
เพื่อพัฒนาศักยภาพของสำนักหอสมุดกลาง ให้มีรูปแบบการดำเนินงานในเชิงรุก
๒
เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
๓
เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของสำนักหอสมุดกลางให้สอดคล้อง และบรรลุตามนโยบายของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
เพื่อผลักดันวิสัยทัศน์ พันธกิจของสำนักหอสมุดกลางให้บรรลุผลสำเร็จ
สำนักหอสมุดกลางจึงกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ โดยจำแนกประเด็นยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ด้านการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัย เพียงพอ และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย โดยสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างไร้ขอบเขต (Borderless Resources)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางจัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้เพียงพอและทันสมัย ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ และสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. ร้อยละของจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้หลังการจัดซื้อในปีงบประมาณที่ผ่านมา
๒. จำนวนหน่วยงาน / เครือข่ายความร่วมมือ ทั้งภายในและภายนอก
๓. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการเข้าถึงข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศออนไลน์
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ด้านการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Knowledge Space) เพื่อสนับสนุนการค้นคว้า การสร้างสรรค์ และการร่วมมือ แลกเปลี่ยน ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และชุมชนโดยรอบเป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีพื้นที่การเรียนรู้ การสร้างสรรค์ที่ไร้กำแพง ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ รวมถึงมีการพัฒนาและการสร้างเนื้อหาเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพ
๒. จำนวนการพัฒนาและการสร้างเนื้อหา เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (Digital Content)
๓. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อพื้นที่การเรียนรู้
๔. ร้อยละของจำนวนผู้ใช้บริการพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางกายภาพที่เพิ่มขึ้น
๕. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ (Digital Content) เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : ด้านการสร้างการเชื่อมต่อองค์ความรู้ภายในประชาคมศิลปากรสู่ชุมชนภายนอก เพื่อช่วยสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Learning Society)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการ เพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่า
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนโครงการบริการชุมชน
๒. จำนวนการจัดกิจกรรมและหลักสูตรระยะสั้น
๓. ความพึงพอใจของการให้บริการกิจกรรม/หลักสูตรระยะสั้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ด้านการจัดการคลังข้อมูลและคลังปัญญาอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล โดยเปิดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี (Borderless Open Resource)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีคลังข้อมูลและคลังปัญญาแบบเปิดที่เป็นระบบตามมาตรฐานสากล
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. จำนวนระเบียนในคลังข้อมูลและคลังปัญญาที่เพิ่มขึ้น
๒. จำนวนการเข้าถึงคลังข้อมูลและคลังปัญญา
๓. มีระบบคลังข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ในลักษณะ One Stop Service
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้านการบริหารจัดการแบบไร้ขอบเขต (Borderless Management)
เป้าประสงค์ : สำนักหอสมุดกลางมีระบบบริหารจัดการ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์
๑. มีระบบการบริหารจัดการ
๒. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาความรู้