โครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี

principle and reason

หลักการและเหตุผล

         ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่สนับสนุนการเรียนการสอนทางด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา โดยมีบริการทรัพยากรสารสนเทศ มีหนังสือ วารสาร เป็นอาทิ นอกจากนี้หอสมุดได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
         ดังนั้นคณะโบราณคดี  สำนักพิมพ์สมมติ และฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ได้ร่วมกันจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อำนาจแบบอาณานิคม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสังคมโลกและสังคมไทยของ “อำนาจอาณานิคม” ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันที่ปรากฏตัวอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของสังคม

Objectvie

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนและส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางสังคมศาสตร์สู่สาธารณะ

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะโบราณคดี
สำนักพิมพ์สมมติ   
      ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

          โครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี จัดขึ้นในในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568 โดยคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับหอสมุดวังท่าพระ จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี EP. 1 โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา บทสนทนาจากหนังสือของศาสตราจารย์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา เรื่อง “ว่าด้วยการถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม (On Decoloniality) : จากเขม่าปืนในแดนคนป่า สู่โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 69 คน มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 58 มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55)

ผลการประเมินผู้เข้าร่วม โครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไป
1) สถานภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 รองลงมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 24.68 ศิษย์เก่า จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 19.48 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มศก. จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 16.88 และนักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10.39 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

2) อายุ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 46.55 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.45 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้     

No Data Found

3) ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ จำนวน 25 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 37.88 รองลงมาจากเพื่อน จำนวน 23 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 34.85 จากอาจารย์ จำนวน 9 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 13.64 จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 7 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 10.61 และจากช่องทางอื่น ๆ จำนวน 2 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 3.03 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

        ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี  คณะโบราณคดี          
        ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปีคณะโบราณคดี EP. 1 โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และโครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40

สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด     
       ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ยากแก่การเข้าใจ (1 คน) ความรู้จากวิทยากร (1 คน) การพูดถึงอาณานิคมในมุมมองของทั้ง 3 คน ที่หาข้อมูลได้น่าสนใจและการตอบคำถามที่แสดงให้เห็นถึงภาพจริงในมุมมองของแตะละคน (1 คน) การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรทั้ง 2 ท่าน รวมถึง ผู้ดำเนินรายกร ที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม (1 คน) เนื้อหาเรื่องของกรอบความเข้าใจของมนุษย์ที่มีข้อจำกัดเอาไปเขียนบทความส่งตีพิมพ์ (1 คน) this seminar is very fruitful of thoughts and provocative. I would develop this academic conversation into my future academic research (1 คน) ผู้เสวนาทั้ง 2 ท่านมากความรู้ และทรงประสบการณ์มาก ๆ ค่ะ ขอบคุณที่มาเสวนาให้ได้รู้ถึงนานาชาติ (1 คน) core idea ของ บทสนทนา (1 คน) Education institution that effect a thing so deep (1 คน) แนวคิดต่าง ๆ (1 คน) วิทยากรให้ความรู้ที่น่าสนใจมาก ทำให้เรื่องราวที่ฟังนำไปเล่าต่อผู้อื่นได้ (1 คน) ความรู้เพิ่มเติมเรื่องประวัติศาสตร์ (1 คน)
(หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด            
      ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 6 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ อยากให้มีการสื่อสารทางออนไลน์มากกว่านี้นะคะ (1 คน) อยากให้มีการจัดที่สนามจันทร์บ้าง มีนักศึกษาหลายคนอยากมาฟัง/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (1 คน) I think everything is perfect ; the vibe of cuzy and the guest speakers are proper (1 คน) ตรงจัด ชัดเจนดี หัวข้อเสวนาแบบนี้จัดอีกนะคะ (1 คน) อยากให้นักศึกษาคณะโบราณคดีเข้าร่วมฟังการเสวนานี้มากกว่านี้ เพื่อเปิดมุมมองและขยายองค์ความรู้ทางวิชาการ (1 คน) I want some English detail for this Act. (1 คน)
(หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ     
        ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 10 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ อยากฟังเรื่องจิตวิเคราะห์แบบลาคาน (1 คน) หัวข้อความ ความทันสมัยทำให้เราล้มเหลว (1 คน) อยากให้จัดสถานที่ที่สามารถนำน้ำ+กาแฟเข้ามาทานได้ (1 คน) the topics about how the colonization affect Siam (1 คน) เรื่องราวของอารยธรรม ประติมากรรมจากประเทศต่าง ๆ  วิทยากรเจ๋งๆ (1 คน) Art criticism (1 คน) จัดเก้าอี้กว้างหน่อยได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ (1 คน) เห็นด้วยกับการให้อาจารย์ภายนอกมหาวิทยาลัยมาเป็นวิทยากร อยากให้มีการวิพากษ์องค์ความรู้ที่คณะโบราณคดีใช้สอน (1 คน) brighter place (1 คน) อยากให้มีการจัดเสวนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษา เช่น ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม เพิ่มเติม (1 คน)

สรุป    
      โครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สาธารณะ 70 ปี คณะโบราณคดี มีผลสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการ โดยตัวชี้วัดเชิงปริมาณ มีจำนวนผู้เข้าร่วม 69 คน เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.55)

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง