โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation”

principle and reason

หลักการและเหตุผล

          สงครามทุกรูปแบบก่อให้เกิดการสูญเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามที่ทำลายล้างกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้เกิดหายนะและมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทั้งบ้านเมืองถูกทำลาย เกิดเพลิงไหม้ แผ่นดินไหว ฝนกรด การแผ่กระจายของกัมมันภาพรังสี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตถึงระดับยีนและโครโมโซม ก่อให้การเกิดโรคมะเร็ง ความผิดปกติทางพันธุกรรม การเสียชีวิต ทั้งระบบการขนส่งและการสื่อสาร ระบบการให้บริการพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า น้ำประปาถูกตัดขาด เกิดความเสียหายของทรัพย์สินและทรัพยากร การถูกขัดขวางด้านการค้าและการลงทุน เกิดหมอกควันหนาทึบในชั้นบรรยากาศ (nuclear winter) ที่ป้องกันไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องมาถึงพื้นโลก เป็นผลให้อุณหภูมิของโลกลดลง และมีความเป็นไปได้ของการเกิด nuclear summer คือเมื่อหมอกควันจางหาย จะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างผิดปกติ อีกทั้งยังส่งกระทบทางด้านจิตใจของผู้คน ทั้งความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความสิ้นหวัง ความเศร้า ความโกรธ และความเกลียดชัง ดังนั้น การป้องกันและหลีกเลี่ยงสงครามจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกองค์กร

            ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะที่เป็นแหล่งจัดเก็บและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทางด้านศิลปะ การออกแบบ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ได้ประสานความร่วมมือกับมูลนิธิสุรินทร์ พิศสุวรรณ องค์กรที่สนับสนุนด้านการศึกษา การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และด้านความมั่นคงของมนุษย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสงครามและสันติภาพ จึงได้จัดโครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation” เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ตลอดจนบุคคลทั่วไปได้ตระหนักถึงพิษภัยและความโหดร้ายของสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองฮิโรชิมาและนาซากิ จนทำให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก

Objectvie

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงมหันตภัยและความโหดร้ายของสงคราม และเล็งเห็นความสำคัญของสันติภาพ

2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับสงคราม ความสูญเสีย และผลกระทบจากสงคราม ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

ตัวชี้วัด
หน่วยนับ
เป้าหมาย
ผลผลิต ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
- จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ร้อยละ
103
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
- ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ค่าเฉลี่ย
4.01
- ประโยชน์ที่ได้รับ
ค่าเฉลี่ย
4.04

project performance

ผลการดำเนินงาน

             โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation” เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ จัดขึ้นวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00-18.00 น.  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 103 คน จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 89 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.41 ของผู้เข้าร่วมในกิจกรรม ผลการประเมินกิจกรรมสามารถนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

สถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 33.71รองลงมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 28.09 นักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ศิษย์เก่า จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8.99 อาจารย์ มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 และสายสนับสนุน มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.76 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

สถานภาพ
จำนวน (N=89)
ร้อยละ
บุคคลทั่วไป
30
33.71
นักศึกษาปริญญาตรี มศก.
25
28.09
นักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน
17
19.10
ศิษย์เก่า
8
8.99
สายสนับสนุน มศก.
5
5.62
อาจารย์ มศก
4
4.49

อายุ  พบว่า ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 20 – 30 ปี จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 32.58 รองลงมาช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 24.72 ช่วงอายุ 51 – 59 ปี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 14.61 ช่วงอายุ 31 – 40 ปี  จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.49 และช่วงอายุ 41 – 50 ปี   จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 4.49 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

ช่วงอายุ
จำนวน (N=89)
ร้อยละ
ช่วงอายุ 20 - 30 ปี
29
32.58
ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป
22
24.72
ช่วงอายุ 51 – 59 ปี
17
19.10
ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี
13
14.61
ช่วงอายุ 31 - 40 ปี
4
4.49
ช่วงอายุ 41 - 50 ปี
4
4.49

ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook ของหอสมุดวังท่าพระ จำนวน 39 คิดเป็นร้อยละ 39.80 รองลงมาจากเพื่อน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 22.45 จากช่องทางอื่น ๆ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20.41 จากอาจารย์ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.24 และจากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.10 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

ช่องทางการรับข่าวสาร
จำนวน
ร้อยละ
Facebook ของหอสมุดวังท่าพระ
39
39.80
เพื่อน
22
22.45
อื่น ๆ
20
20.41
อาจารย์
12
12.24
ป้ายประชาสัมพันธ์
5
5.10

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “Bombed & Reborn: Personal Stories of Hiroshima’s Transformation”                           ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.01 (ร้อยละ 86.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ เสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงมหันตภัยและความโหดร้ายของสงคราม และเล็งเห็นความสำคัญของสันติภาพ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 (ร้อยละ 86.41) โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 (ร้อยละ 86.41) และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 (ร้อยละ 86.41)  

รายการประเมิน
%
S.D.
แปลความ
1. เสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงมหันตภัยและความโหดร้ายของสงคราม และเล็งเห็นความสำคัญของสันติภาพ
86.41
4.24
0.75
มาก
2. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
86.41
4.04
0.65
มาก
3. โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย
86.41
4.19
0.58
มาก
4. ความพึงพอใจในภาพรวม
86.41
4.01
0.69
มาก

          สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด

           ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด จำนวน 16 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ การให้ความสำคัญกับการไม่ใช่ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง (1 คน) ชีวิตต้องอยู่ด้วยความหวังและความรัก (1 คน) การนำเอาผุ้มีประสบการณ์จริงมาถ่ายทอดให้ผู้ชมได้ตระหนัก (1 คน) การรับฟังเรื่องราวของผู้ประสบความรุนแรงและไม่ยอมแพ้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่นในการเรียกร้องสันติภาพ (1 คน) การตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามที่มีแต่ความสุญเสีย และร่วมกันยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้นอีก (1 คน) ประสบการณ์และทัศนคติของ คุณ Toshiko Tanaka ที่คิดบวกอยู่เสมอแม้จะมีบาดแผลอยู่ในใจ (1 คน) การบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์จริง ทำให้สร้างอารมณ์ร่วมไปกับผู้บรรยาย (1 คน) เรื่องเล่าและความทรงจำของวิทยากรเกี่ยวกับฮิโรชิม่า และที่อื่น ๆ (1 คน) ที่มาฟังเพราะเคยไปฮิโรชิมะ แล้วเกิดความเศร้าใจมาก ร้องไห้ตลอด3-4 ชม ที่ชมเมือง/พิพิธภัณฑ์ (1 คน) สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ คือ การที่คนคนหนึ่งสามารถที่จะนำความกล้าที่จะนำความกล้าที่จะนำเรื่องราวอันโหดร้ายนั้น เพื่อนำมาเป็นเครื่องเตือนสติ ผ่านผลางนทางศิลปะ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจต่อการกระทำของมนุษย์ที่ผ่านมา (1 คน) ศิลปะก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบำบัด เยียวยาจิตใจของเรา เมื่อพบเหตุการณ์ที่เจ็บปวดผ่านรูปภาพ และประติมากรรม (1 คน) การนำเสนอเรื่องราวส่วนบุคคลที่เป็นความทรงจำบาดแผลจากสงคราม นำไปสู่ความคิดว่าด้วยสันติภาพได้อย่างดี รวมถึงการบอกเล่าประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีการให้บทเรียนการใช้ชีวิตของศิลปิน (1 คน) ส่วนของการได้พบปะกับคนในเหตุการณ์จริง1 คนที่เข้าใจเรื่องนั้นจริง (1 คน) การตระหนักรู้ในอันตรายของระเบิดปรมาณู และเข้าใจบาดแผลของผู้ผ่านเหตุการณ์มากขึ้น (1 คน) ได้รับรู้และเข้าใจความรู้สึก และการใช้ชีวิตหลังของบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์จริง (1 คน) ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ การผ่านประสบการณ์ทำให้ได้ข้อคิดสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคต (1 คน)

          (หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 15 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ ระบบเสียงโดยเฉพาะล่ามภาษาไทย เสียงอู้อี้มาก (1 คน) 1. ตรงเวลา 2. ปรับเสียง การนำเสนอเรื่องเล่า ควรมีภาพประกอบจากอดีต 3. ควรนำเสนอตัวอย่างงานศิลปะ (1 คน)  ผลงานของผู้เล่าเรื่อง (1 คน) ปรับปรุงไมค์ และรบบเสียง (1 คน) ขอให้มีช่วงพักให้ผู้ฟัง (1 คน) Sound control (1 คน) เสียงไมค์ ค่อนข้างเบา ได้ยินไม่ชัดเจน (1 คน) ระบบเสียงช่วงแรก ๆ เบามาก ช่วงหลังผู้แปลที่ใส่หน้ากากอนามัยทำให้บางครั้งฟังไม่ค่อยชัดเจน/ไม่รู้เรื่องว่าพูดอะไร (1 คน) 1. ห้องน้ำไม่สะอาดอย่างมากค่ะ 2. ควรปรับปรุงเรื่องระบบเสียง ไม่อยากให้ผิดพลาดในจุดที่ไม่ควรพลาด (1 คน) เสียงเบา (1 คน) น่าจะเป็นในเรื่องของเครื่องเสียงท่าอาจจะต้องให้มีความพร้อมมากกว่านี้ (1 คน) อุปกรณ์ขยายเสียงของผู้แปลค่อนข้างเบา สำหรับผู้ฟังที่นั่งไกลบริเวณแถวบนสุดของบันไดห้องสมุดส่งผลให้คำที่แปลบางคำ ฟังไม่ชัดเจน และเสียอรรถรสในการฟัง (1 คน) ความพร้อมของระบบเสียงที่เหมือนพร้อมด้วยอุปกรณ์ แต่ขาดการปรับแก้ไขในเมื่อเวทีดำเนินไปแล้ว (1 คน) ระบบเสียง ไมโครโฟน เบาไปนิดนึง (1 คน) สถานที่ Public มากไป การที่คนสามารถผ่านไปมาได้ + เสียงลำโพงที่เบา ทำให้ฟังยาก รายละเอียดสถานที่ไม่ชัด (1 คน)  ตอนเข้ามาในห้องสมุดหาตั้งนานว่าต้องฟังสัมมนาตรงไหน  คนแปล(ล่าม) เสียงเบา งึมงำไต้แมส (1 คน)

          (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ จำนวน 9 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ คุณค่า และวัฒนธรรมไทยกับภาพยนตร์ไทย (1 คน) อยากได้งานที่มีความเป็นกันเองมากกว่านี้  (1 คน) หัวข้อ เช่น ครั้งนี้ที่นำพาผู้มีผลกระทบโดยตรงมาเล่า (1 คน) หัวข้อการจัดงานวันนี้ดีมาก ๆ ค่ะ มีความน่าสนใจและสร้าง impact (1 คน) งานในครั้งต่อไปอยากให้จัดในรูปแบบของสถานที่ให้มีขนาดใหญ่อีกนิดหน่อย ส่วนในเรื่องของหัวข้อนั้น อาจจะไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก (1 คน) การนำเสนองานสัมมนา/พูดคุยประกอบการจัดแสดง+เอกสารประกอบที่มี Information เพียงพอ (1 คน) ระบบงานโสต เสียงไมโครโฟน หัวข้อที่สามารถเชื่อมโยงประเทศไทยกับต่างประเทศสากลได้ การประชาสัมพันธ์ผ่านโปสเตอร์ในบริเวณมหาลัยให้มากขึ้น (1 คน) อยากให้จัดงานไม่ดึกขนาดนี้ สถานที่ควรแจ้งให้จัดเชน (1 คน) เพียงแค่อยากชื่นชมที่มีการบันทึกไลฟ์สดลงเฟสบุ๊กให้คนที่ไม่สะดวกเข้าร่วมได้มีโอกาสรับฟังเรื่องดี ๆ แบบนี้ด้วย ขอบคุณค่ะ (1 คน)

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง