โครงการ Information literacy SUP Library Tranning : การใช้งานโปรแกรม Turnitin เพื่อตรวจสอบความคล้ายคลึงของผลงานวิชาการ
principle and reason
หลักการและเหตุผล
การอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างเหมาะสมและการหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (Plagiarism) เป็นประเด็นที่ได้รับความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในระดับการศึกษาและการวิจัย โปรแกรม Turnitin จึงได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบความคล้ายคลึงของผลงานทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและยกระดับคุณภาพของงานเขียนทางวิชาการในสถาบันการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ยังมีบุคลากรจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานโปรแกรม Turnitin อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงเกิดปัญหาในการแปลผลรายงาน ตรวจสอบไม่ครบถ้วน หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับคะแนนความคล้ายคลึง
เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการใช้งานโปรแกรม Turnitin อย่างถูกต้อง รวมถึงแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการเขียนและอ้างอิงผลงานวิชาการ จึงมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Information Literacy SUP Library Training: การใช้งานโปรแกรม Turnitin เพื่อตรวจสอบความคล้ายคลึงของผลงานวิชาการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ และสร้างจิตสำนึกในความซื่อสัตย์ทางวิชาการแก่ผู้เข้าร่วมอบรม
Objectvie
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาบริการส่งเสริมการศึกษา การค้นคว้าวิจัย (Research Service)
2) เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงฐานข้อมูล/โปรแกรมที่หอสมุดฯ บอกรับ
3) เพื่อส่งเสริมการให้บริการห้องสมุดดิจิทัล
4) เพื่อให้สามารถเข้าใช้แหล่งทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ
5) เพื่อให้มีความรู้การเขียนอ้างอิง และบรรณนุกรม และมีจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ
strategic response
ตอบสนองยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 2
- LIFEBRARY : Life + Library การพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- มาตรการ ๒.๒.๑ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สร้างสรรค์ด้านต่างๆ ในรูปแบบ นิทรรศการ เสวนาการแสดง กิจกรรม และรูปแบบอื่นๆ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4st Strategic Goal _ Sustainable Library
- มาตรการ ๔.๓.๑ กระบวนการสร้างความเข้าใจในการพัฒนาที่ยั่งยืนมิติต่างๆ (Sustainable Development
Project Responsible
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
location
สถานที่ดำเนินงาน
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
project performance
ผลการดำเนินงาน
โครงการ Information literacy SUP Library Tranning หัวข้อ การใช้งานโปรแกรม Turnitin เพื่อตรวจสอบความคล้ายคลึงของผลงานวิชาการ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ในรูปแบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คน มีความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 90 และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ คิดเป็นร้อยละ 88
โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนวน 45 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 71.11 จำแนกเป็นอาจารย์ จำนวน 23 คน บรรณารักษ์ จำนวน 4 คน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน และนักวิจัย จำนวน 1 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล คือ แบบประเมินความพึงพอใจการจัดโครงการ พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 4.50 และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้ คิดเป็นร้อยละ 4.40 ดังนี้
ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเพศชาย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และเพศหญิง จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84.37 และมีผู้ที่ไม่ต้องการระบุเพศ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12
No Data Found
2. สถานะ สถานะของผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 71.87 บรรณารักษ์ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.2 เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และนักวิจัย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12
No Data Found
3. หน่วยงานสังกัด ผู้เข้าร่วมโครงการสังกัดคณะ/หน่วยงาน ประกอบด้วย คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 25 คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 คณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 คณะมัณฑนศิลป์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12 และสำนักหอสมุดกลาง จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15.62
No Data Found
ช่องทางการประชาสัมพันธ์
No Data Found
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม / โครงการ
ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ ประกอบด้วย 1) เนื้อหาในการอบรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ 4.67 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 2) ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับ 4.53 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 3) รูปแบบและวิธีการอบรมมีความเหมาะสม 4.43 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 4) การประชาสัมพันธ์โครงการอบรม อยู่ในระดับ 4.15 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 5) ความสามารถในการ การถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจ อยู่ในระดับ 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจ 6) การบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน อยู่ในระดับ 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 7) การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับ 4.18 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 8) การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจน อยู่ในระดับ 4.31 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 9) สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ อยู่ในระดับ 4.40 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก 10) ความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อยู่ในระดับ 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
No Data Found
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
1. วิทยากรอธิบายได้ละเอียดชัดเจนดีมาก
2. มีข้อจำกัดการทำได้จริง เนื่องจากยังใช้ account ไม่ได้ จึงไม่สามารถปฏิบัติตามวิทยากรสอนได้ แต่อย่างน้อยได้รู้หลักการและวิธีการต่างๆ
3. เนื้อหาน่าสนใจและใช้ประโยชน์ต่อได้
4. ช่วงแรกของการอบรมควรมีดนตรีประกอบผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ทราบว่าสามารถเข้าร่วมได้แล้วหรือไม่ ตอนนี้ไม่มีระบบเสียงก่อนวิทยาดรบรรยายเลยทำให้บรรยากาศดูงงๆไปหมด
5. อยากให้บรรยายตั้งแต่พื้นฐานระบบการใช้งาน ผู้เข้าอบรมยังไม่รู้จักระบบ วิทยากรบรรยายเรื่อยๆ ทำให้ไม่ได้รับความเข้าใจเท่าที่ควร
6. ต้องการเปิดโอกาส หรือมีช่องทางสอบถามในระหว่างการใช้งานด้วย