โครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดีและ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน)

principle and reason

หลักการและเหตุผล

       สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานสนับสนุนของมหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งหนึ่งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นจุดศูนย์กลางการใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ มุ่งสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ “Creative Learning Ecosystem” เปิดให้บริการพื้นที่เพื่อเอื้อให้เกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ ครอบคลุมการให้บริการทุกช่วงวัย อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ขยายขอบเขตองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและการออกแบบ โบราณคดี มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ฯลฯ
       อนึ่ง สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เป็นต้นมา โดยมีข้อตกลงในการเชื่อมโยงทรัพยากรสารสนเทศและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างองค์กร ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระจึงเล็งเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ
        ในการนี้ ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระจึงผสานความร่วมกับคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อจัดโครงการ “Board Game จากงานสร้างสรรค์ฯ” อันประกอบด้วย 1) การแสดงนิทรรศการบอร์ดเกมสร้างสรรค์จากองค์ความรู้ทางโบราณคดี มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยบอร์ดเกมที่นำมาจัดแสดงนั้นเป็นผลงานของอาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี และนักศึกษาภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี และ 2) การสาธิตการเล่นบอร์ดเกม ในวันที่ 21 – 22 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยกลุ่มนักศึกษาภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี และฝ่ายบริการสารสนเทศของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
         การดำเนินโครงการฯ จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่คณะโบราณคดีได้จัดงาน “BORAN Showcase 2025” โดยฝ่ายหอสมุดวังท่าพระมีเป้าหมายในการดึงดูดกลุ่มผู้เรียน และบุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นลูกค้าในอนาคตให้ได้รู้จักหอสมุดวังท่าพระ และมหาวิทยาลัยศิลปากรมากขึ้น สะท้อนการเป็นแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศและพื้นที่การเรียนรู้ที่สำคัญตามยุทธศาสตร์และพันธกิจที่สำคัญของสำนักหอสมุดกลาง

Objectvie

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจจากกิจกรรม Board Game

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

    โครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) จัดขึ้นในวันที่ 21 – 22 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยฝ่ายหอสมุดวังท่าพระจึงผสานความร่วมกับคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เพื่อจัดโครงการอันประกอบด้วย 1) การแสดงนิทรรศการบอร์ดเกมสร้างสรรค์จากองค์ความรู้ทางโบราณคดี มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยบอร์ดเกมที่นำมาจัดแสดงนั้นเป็นผลงานของอาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี และนักศึกษาภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี และ 2) การสาธิตการเล่นบอร์ดเกม ในวันที่ 21 – 22 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยกลุ่มนักศึกษาภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี และฝ่ายบริการสารสนเทศของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีเป้าหมายในการดึงดูดกลุ่มผู้เรียน และบุคคลภายนอกซึ่งอาจเป็นลูกค้าในอนาคตให้ได้รู้จักหอสมุดวังท่าพระ และมหาวิทยาลัยศิลปากรมากขึ้น สะท้อนการเป็นแหล่งรวมทรัพยากรสารสนเทศและพื้นที่การเรียนรู้ที่สำคัญตามยุทธศาสตร์และพันธกิจที่สำคัญของสำนักหอสมุดกลาง โดยแบ่งการจัดกิจกรรมออกเป็น ดังนี้
    1. Board Game’s Exhibition นิทรรศการตามขุด มนุษย์ Mana รวบรวมผลงาน Board Game ด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 17 – 23 เมษายน พ.ศ. 2568 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 56 คน
    2. กิจกรรม Board Game Mission เปิดสนามเล่นบอร์ดเกม “อาลักษณ์อยุธยาตามหาอักษร” ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 29 คน
    3. กิจกรรม Board Game Mission เปิดสนามเล่นบอร์ดเกม “เกม ผี – พระ – เจ้า” ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 18 คน
    4. กิจกรรม Board Game Mission เปิดสนามเล่นบอร์ดเกม “เครื่องมือ 7 ชิ้น” ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 23 คน
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 67 คน มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 67 มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.81)

ผลการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไป
1) สถานภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นนักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ต่างสถาบัน จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 55.22 รองลงมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 23.88 บุคคลทั่วไป จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 16.42 และ ศิษย์เก่า จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.48 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

2) อายุ พบว่า ผู้เข้าร่วม โครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 65.67 และช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 34.33 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้  

No Data Found

3) ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ จำนวน 32 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 34.04 รองลงมาจากเพื่อน จำนวน 23 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 24.47 จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 18 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 19.15 จากอาจารย์ จำนวน 13 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 13.83 จาก SULIB Line Official จำนวน 4 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 4.26 จากช่องทางอื่น ๆ จำนวน 4 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 4.26 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

        ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อ โครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน)
        ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 Board Game: อาลักษณ์อยุธยาตามหาอักษร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 Board Game’s Exhibition – นิทรรศการตามขุด มนุษย์ Mana รวบรวมผลงาน Board Game ด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา ภาษาและวัฒนธรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 Board Game:  ผี พระ เจ้า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 Board Game: เครื่องมือ 7 ชิ้น 7 Tools ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 

สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด   
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 38 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ บรรยากาศดี สะอาด (1 คน) ได้รู้ตัวอักษรแต่ละยุคสมัย (1 คน) สนุกและได้รับความรู้ (1 คน) ได้รับความรู้ในสาขาวิชาโบราณคดีและสาขาอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดได้ (1 คน) ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ ได้รู้เกี่ยวกับสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งที่ชอบ (1 คน) ได้มีแรงบันดาลใจ และได้ความรู้ไปใช้ต่อยอดในชีวิตประจำวัน (1 คน) เปลี่ยนรูปแบบการเรียนวิชาโบราณคดี วัฒนธรรมแบบเดิม ๆ ให้มีมติที่น่าสนใจมากขึ้นไม่น่าเบื่อ (1 คน) มีมุมมองในการต่อยอด ในด้านการรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเองและอนุรักษ์ (1 คน) การนำความเป็นวัฒนธรรมมาบวกกับสื่อสมัยใหม่ทำให้มีความน่าสนใจ (1 คน) อักษรจารึก สามารถนำไปต่อยอดทางความคิดต่อไปได้ (1 คน) แรงบันดาลใจในการเรียนรู้ภาษา (1 คน) ได้รับความรู้เกี่ยวกับคณะโบราณคดี (1 คน) สนุกสนานกับเพื่อนๆ (1 คน) ได้เรียนรู้ตัวอักษรเพิ่มเติม (1 คน) Board Game design สวยมาก (1 คน)การเห็นพัฒนาการของตัวอักษร (1 คน) ความรู้ต่าง ๆเกี่ยวกับคณะโบราณคดี (1 คน) พัฒนาการความจำ รู้จักพัฒนาการตัวอักษร (1 คน) ความคิดสร้างสรรค์ (1 คน) ความรู้ที่ได้จากเกมส์ (1 คน) ได้รับความประทับใจจากพี่แต่ละสาขาวิชาทำให้มีแรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อ (1 คน) สนุก ฝึกความคิด (1 คน) ชอบสถานที่ และสิ่งที่ผู้ดำเนินเกมส์อธิบายให้เข้าใจง่าย (1 คน) การมีส่วนร่วมในการเล่นเกมส์การ์ด (1 คน)การได้พบกับนักศึกษาและอาจารย์ที่น่าสนใจ (1 คน) อาจารย์ที่คณะโบราณคดี (1 คน) สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ (1 คน) ได้รู้จักวัฒนธรรมของศาสนาอื่นมากขึ้น (1 คน) สนุกบรรยากาศเป็นมิตร (1 คน) การได้รู้เกี่ยวกับคณะโบราณคดีมากขึ้น ได้เข้าใจว่าตัวเองชอบคณะนี้มากไหม (1 คน) ได้ความรู้ใหม่มาประดับสมอง ประยุกต์ใช้ในการเรียนได้ (1 คน) ความสามัคคีและการให้ความรู้แก่ผู้อื่น (1 คน) พี่ๆและอาจารย์คณะโบราณคดีเป็นกันเอง (1 คน) ได้เล่น Board Game กับเพื่อนใหม่ๆพี่ๆที่คอยดูแลให้คำแนะนำในการเล่นเกมส์ตลอดทั้งเกมส์ (1 คน) แรงบันดาลใจในการออกแบบ Board Game (1 คน) ได้รู้สถานที่เกี่ยวกับศาสนาเพิ่มเติม (1 คน) ประทับใจบรรยากาศของงาน (1 คน) เกมส์ที่เล่นมีความสนุก (1 คน)

(หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 8 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ การโปรโมทดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้มีความสนใจในด้านวัฒนธรรมต่าง ๆ (1 คน) อาจจะควรมีโปรโมททางสื่อออนไลน์มากกว่านี้ (1 คน) เรื่องประชาสัมพันธ์ ควร Take action มากกว่านี้ กิจกรรมดี ๆควรได้รับการสนับสนุน (1 คน) อยากให้มีการประชาสัมพันธ์มากกว่าเดิม (1 คน) อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น บุคคลภายนอก, นักเรียน จะได้เข้ามาเรียนรู้กิจกรรมได้มาก (1 คน) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น (1 คน) อยากให้มีป้ายบอกกิจกรรมให้ชัดเจน (1 คน) การประชาสัมพันธ์ไม่เข้าถึงมากพอ อาจเพิ่มเป็นการทำคอนเทนต์ Promote ให้คนมาร่วมกิจกรรมเยอะๆ (1 คน)

(หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ
       ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงความคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 7 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ นิทรรศการแบบมีส่วนร่วม บูรณากับการใช้ AI (1 คน) งานเสวนาที่พูดถึงความคิดในการส้รางสรรค์+สอนวิธีนำเสนอ ประกอบนิทรรศการหรือมีให้เสมือนจริงเป้นรูปแบบชิ้นทดลองจะดีมาก (1 คน) หัวข้อในด้านความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นด้านทางทะเลหรือพื้นดินที่แสดงถึงความเป็นอยู่, การอนุรักษ์ และการรักษาคงไว้ที่มาจนถึงปัจจุบัน (1 คน) อาจมีการเชิญชวนชาวต่างชาติมาเล่นทำให้สนุกมากขึ้น (1 คน) เกมส์ใหม่ (1 คน) การประชาสัมพันธ์ที่รับรู้โดยทั่วไปแบบจึ้งๆๆ (1 คน) อยากให้มีเกมส์แบบนี้อีกเอาไว้เล่นของคณะโบราณคดี (1 คน)

สรุป    
    โครงการ Board Game จากงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะโบราณคดี และศูนย์มานุษยวิทยาสิริรนธร (องค์การมหาชน) บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการ ในด้านตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 67 คน ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.81) 

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง