โครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์

principle and reason

หลักการและเหตุผล

        ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่สนับสนุนการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและการออกแบบ โดยมีบริการทรัพยากรสารสนเทศ   มีหนังสือ วารสาร เป็นอาทิ นอกจากนี้หอสมุดได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
        ดังนั้นโรงเรียนดรุณพัฒน์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  และฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ได้จัดนิทรรศการผลงานศิลปะ “Blossom (ดอกไม้มงคล จำนวน 20 สายพันธุ์)”  และจัดกิจกรรมวาดภาพดอกไม้ อันเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจจากงานศิลปะ

Objectvie

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจจากกิจกรรมวาดภาพและนิทรรศการ

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

โรงเรียนดรุณพัฒน์
คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ 
      ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

         โครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ จัดขึ้นระหว่างเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน – วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน เข้าร่วมกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ
        1) นิทรรศการผลงานศิลปะ “Blossom (ดอกไม้ จำนวน 20 สายพันธุ์)”  ระหว่างวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน – วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 36 คน มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.69)
        2) กิจกรรม Workshop วาดภาพดอกไม้ ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 31 คน มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.83)
        3) กิจกรรมฉายภาพยนตร์สั้นเบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเหล่านักศิลปินรุ่นเยาว์ Van Gogh ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 35 คน มีความพึงพอใจในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.69)  

ผลการประเมินผู้เข้าร่วม โครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไป
1) สถานภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 รองลงมาเป็นนักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

2) อายุ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 77.78 รองลงมาเป็นช่วงอายุต่ำกว่า 12 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.78 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.78 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้  

No Data Found

3) ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจากช่องทางอื่น ๆ จำนวน 18 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาเป็น จากอาจารย์ จำนวน 15 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 41.67 จากเพื่อน จำนวน 3 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 8.33 และจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ จำนวน 1 คำตอบ คิดเป็นร้อยละ 2.78 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

        ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์                 
      ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรม พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ กิจกรรม Workshop วาดภาพดอกไม้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 นิทรรศการผลงานศิลปะ “Blossom” ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 กิจกรรมฉายภาพยนตร์สั้นเบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเหล่านักศิลปินรุ่นเยาว์ Van Gogh ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69

สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด     
       ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ ภาพวาดสวยมาก ประทับใจกิจกรรม ขอบคุณที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้น่าส่งเสริมมาก ๆค่ะ (1 คน) นิตยสารต่างประเทศ ประเภทออกแบบ, สถาปัตยกรรม (1 คน) การใช้สมาธิในการวาดภาพ ช่วยฝึกฝนจิตใจและอารมณ์ได้ด้วย (1 คน) ประทับใจในสิ่งที่เด็ก ๆตั้งใจทำ รวมถึงให้เด็กได้แสดงความสามารถในสิ่งที่ชอบ (1 คน) สถานที่สวยงาม ส่งเสริมคุณค่าทางศิลปะ (1 คน) เด็ก ๆได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ, เด็ก ๆรู้สึกดีใจที่ได้ทำผลงานของตัวเองให้คนอื่น ๆ และพ่อแม่ได้ชื่นชม ในผลงานเด็ก ๆจะได้ประสบการณ์จากงานในครั้งนี้ไม่มากก็น้อย อยากให้มีการจัดขึ้นในทุก ๆปี (1 คน) บรรยากาศการจัดงานสร้างสรรค์แรงบันดาลใจเป็นแบบอย่างให้นำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ (1 คน) ความใส่ใจของผู้จัดงานและครูอาจารย์ โรงเรียนดรุณพัฒน์ (1 คน) ดีใจที่ลูกได้นำผลงานมาแสดง แสดงถึงความตั้งใจในการทำงาน (1 คน) การฉายภาพยนต์ เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเด็ก ๆมาก (1 คน) หอสมุดมีบรรยากาศ เหมาะสมสำหรับการอ่านหนังสือ มีข้อมูลหาความรู้เพิ่มเติมได้ (1 คน) การจัดแสดงศิลปะบางประเภท เช่น ภาพวาด ไม่จำกัดอยู่แค่ภายในหอศิลป์เท่านั้น (1 คน) ส่งเสริมความสามารถลูกๆในด้านด้านศิลป์ (1 คน) งานศิลปะนำไปใช้ประกอบหนังสือสวดมนต์-มีคุณค่า (1 คน) ความภูมิใจในผลงานของเด็ก ๆ และจะได้นำไปต่อยอดในการศึกษาในระดับชั้นสูงๆต่อไป (1 คน) ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ได้เห็นภาพ หนังสือที่มีความแตกต่างเปิดโลกมาก ๆค่ะ (1 คน) หนูจะพยายามวาดภาพให้ดีขึ้น (1 คน) ทำให้ผู้ปกครองเล็งเห็นศักยภาพของเด็ก ๆ และประทับใจในความตั้งทำผลงาน รวมทั้งบุคลากรคุณครูทุกท่าน ซึ่งทำให้เด็กได้สานต่องานด้านศิลปะต่อไปและส่งเสริมความมั่นใจในการกล้าทำงานต่าง ๆทั้งงานศิลปะและงานด้านอื่น ๆ (1 คน) สถานที่จัดงานดี/คุณครูทุกท่านดูแลเด็ก ๆ และผู้ปกครองอย่างดี สุดท้ายขอขอบคุณผู้จัดงานที่คอยดูแลเด็ก ๆเป็นอย่างดี (1 คน)
(หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด            
        ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 5 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ พื้นที่บางส่วนเข้าไปถึง เช่น บันได อยากเดิมชมภาพถ่าย (1 คน) เพิ่มขนาดสถานที่ (1 คน) การประชาสัมพันธ์เรื่องที่จอดรถ (1 คน) มีจัด work shop บ่อยๆ เพื่อโปรโมทหอสมุดแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น (1 คน) อยากให้จัดเวลาประจำในการทำงานศิลปะ/ทำคลิปลงช่อง YouTube ใน process การทำกิจกรรม (1 คน)
 (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ     
          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 7 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ นำชม collection หนังสือ นิตยสารหายาก collection ของหอสมุดที่ไม่มีที่อื่น ๆ (1 คน) อยากให้เชิญศิลปินด้านต่างๆมาบรรยายและแนะนำติชมภาพวาดศิลปะ (1 คน) อยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้ทุกๆปี เด็กๆจะได้โชว์ความสามารถของตัวเอง (1 คน) เชิญศิษย์เก่า มาร่วมจัด talk หรือ workshop สนุกๆ (1 คน) อยากให้ห้องแสดงงานมีไฟสว่างกว่านี้ บางภาพจะดูมือไปนะคะ (1 คน) รูปแบบการจัดงาน สถานที่สวยงามมาก สะอาดเป็นระเบียบ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สวยงามทันสมัย ประทับใจมากๆๆ (1 คน) อาจจะปรับการจัดงานให้สอดคล้องกับผลงานในครั้งต่อๆไป (1 คน)    

สรุป    
        โครงการ Van Gogh Junior นักศิลปินรุ่นเยาว์ มีผลสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการ โดยตัวชี้วัดเชิงปริมาณ มีจำนวนผู้เข้าร่วม 50 คน เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.72)

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง