โครงการพื้นที่เรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless knowledge space) ครั้งที่ 1
principle and reason
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีศักยภาพด้านอาหารที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ทั้งในแง่ของรสชาติ วัตถุดิบ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสำคัญ เช่น น้ำตาลโตนด เกลือทะเล และผลไม้เมืองร้อน รวมถึงอาหารพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ จึงนับเป็นจุดแข็งที่สามารถพัฒนาไปสู่ “Soft Power” ด้านอาหารไทยอย่างยั่งยืนได้ ด้วยสถานะของเพชรบุรีในฐานะ “เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก (UNESCO Creative City of Gastronomy)” โครงการพื้นที่เรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Knowledge Space) จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างเวทีแห่งการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอาหาร ทั้งในเชิงวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ผ่านการมีส่วนร่วมของเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ชุมชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร การดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2567 มุ่งเน้นการบูรณาการการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ (interdisciplinary learning) กับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) เพื่อยกระดับศักยภาพอาหารเมืองเพชรให้สามารถสื่อสารอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมไปยังเวทีโลก อันจะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง การจ้างงาน และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
Objectvie
วัตถุประสงค์
- เพื่อสนับสนุนความเป็นอัตลักษณ์ของฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
- เพื่อให้การเสริมสร้างความรู้และทักษะต่างๆ
- เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมของอาหารเมืองเพชรในมิติต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ วัตถุดิบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความคิดสร้างสรรค์
- เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และออกแบบนวัตกรรมด้านอาหารแก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
- เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขตในการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากหลากหลายสาขา อาทิ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และธุรกิจอาหาร
- เพื่อยกระดับอาหารเมืองเพชรสู่ระดับสากลในฐานะเครื่องมือ “Soft Power” ที่สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ไทย และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีโลก
strategic response
ตอบสนองยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1
- Knowledge Sharing Centre ศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัย คลังปัญญา คลังข้อมูล คลังสะสม และองค์ความรู้ที่มีความสำคัญของมหาวิทยาลัย และความสำคัญระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการศึกษา การวิจัย และการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ทั้งผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- การบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ และองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2
- LIFEBRARY : Life + Library การพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการสร้างสรรค์ร่วมกัน (Co Learning & Co Creation) กับคณะวิชา และหน่วยงานภายนอก
- การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning ตอบช่วงวัยที่หลากหลาย
Project Responsible
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
location
สถานที่ดำเนินงาน
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
project performance
ผลการดำเนินงาน
โครงการพื้นที่เรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless knowledge space) ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567จัดในวันพฤหัสที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 63 ท่าน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจกับการเข้าร่วมกิจกรมในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 4.1 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด และสามารถได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 4.2
ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
☉ จำนวนผู้ตอบแบบประเมินมีจำนวนทั้งสิ้น 63 ชุด ได้รับกลับคืนมา 63 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
No Data Found
☉ หน่วยงานที่สังกัด
No Data Found
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อโครงการ
ค่าเฉลี่ย (4.50-5.00=มากที่สุด / 3.50-4.49=มาก / 2.50-3.49=ปานกลาง / 1.50-2.49=น้อย / 0.50-1.49=น้อยที่สุด)
No Data Found
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
✦ สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเพชร
✦ เทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตร
✦ การลงทุนกองทุนต่าง ๆ ธุรกิจ/โมเดลธุรกิจ
✦ ขนส่งสมวลชนสาธารณะ/การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5
✦ หัวข้อเกี่ยวกับการฝึกงาน Soft Power ด้านการท่องเที่ยว
✦ มหาวิทยาลัยศิลปากร