กิจกรรมปันปันกันอ่าน ปี 2567
principle and reason
หลักการและเหตุผล
ตามที่ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง เป็นแหล่งในการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย จึงได้รับหนังสือบริจาคจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของคณะวิชาในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากตรวจสอบว่าจะเป็นประโยชน์กับหอสมุดวังท่าพระ หรือหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์แล้ว พบว่ายังมีหนังสือบริจาคที่ไม่ได้นำเข้าให้บริการในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเนื่องจากที่มีให้บริการแล้วในหอสมุด หรือมีเนื้อหาไม่ตรงกับการเรียนการสอนของคณะวิชาในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นฉบับที่เกินความต้องการของหอสมุดฯ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก หอสมุดฯ จึงจัดโครงการปันปันกันอ่านขึ้นเพื่อนำหนังสือดังกล่าว ไปมอบให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่มีจุดให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงมหาวิทยาลัย รวมทั้งหนังสือที่บุคลากร นักศึกษานำมาบริจาคเพื่อเข้าร่วมโครงการ ไปบริจาคต่อเพื่อสร้างและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การสร้างสังคมการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้คนในชาติเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย และยังเป็นการประชาสัมพันธ์หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี รวมทั้งเป็นการสร้างสัมพันธ์อันเป็นการปูทางในการแสวงหาความมือร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียงในอนาคตอีกด้วย
Objectvie
วัตถุประสงค์
เพื่อมอบหนังสือบริจาคให้กับสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เพื่อสร้างและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
strategic response
ตอบสนองยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1
- Knowledge Sharing Centre ศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัย คลังปัญญา คลังข้อมูล คลังสะสม และองค์ความรู้ที่มีความสำคัญของมหาวิทยาลัย และความสำคัญระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการศึกษา การวิจัย และการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ทั้งผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- มาตรการ 1.2.1 การจัดทำความร่วมมือ และดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อ เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2
- LIFEBRARY : Life + Library การพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- มาตร 2.2.1 การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สร้างสรรค์ด้านต่างๆ ในรูปแบบ นิทรรศการ เสวนา การแสดง กิจกรรม และรูปแบบอื่นๆ
Project Responsible
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
location
สถานที่ดำเนินงาน
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง สถาบันการศึกษาและหน่วยงานในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ใกล้เคียง
project performance
ผลการดำเนินงาน
กิจกรรมปันปันกันอ่าน จัดโดยฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยนำหนังสือบริจาคที่ไม่ได้นำเข้าให้บริการในหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเนื่องจากที่มีให้บริการแล้วในหอสมุด หรือมีเนื้อหาไม่ตรงกับการเรียนการสอนของคณะวิชาในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นฉบับที่เกินความต้องการของหอสมุดฯ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากไปมอบหนังสือบริจาคให้กับสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ และหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์โครงการ เพื่อสร้างและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำหนังสือไปมอบให้หน่อยงานต่างๆ ที่ประสานงานไว้ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ประกอบ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี 3) ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 4) เรือนจำกลางเพชรบุรี และเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลในครั้งนี้ คือ แบบสอบถามกิจกรรมปันปันกันอ่าน โดยแจกแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 4 ชุด ได้รับกลับคืนมา 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ
ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
☉หน่วยงาน
No Data Found
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจต่อกิจกรรม / โครงการ
การประเมินความพึงพอใจของกิจกรรมปันปันกันอ่าน ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดกิจกรรม/โครงการอยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 2) เนื้อหาหนังสือ/วารสาร/ที่ได้รับสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน อยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 3) จำนวนเล่มหนังสือ/วารสารที่ได้รับ อยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4) ความต้องการรับหนังสือบริจาคในปีถัดไป อยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 5) ประโยชน์ของกิจกรรม/โครงการที่มีต่อหน่วยงาน อยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 6) ความพึงพอใจในภาพรวมของกิจกรรม อยู่ในระดับ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย (4.50-5.00=มากที่สุด / 3.50-4.49=มาก / 2.50-3.49=ปานกลาง / 1.50-2.49=น้อย / 0.50-1.49=น้อยที่สุด)
No Data Found
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ