โครงการ Library Talks เงินทองต้องวางแผน ประจำปี 2567
principle and reason
หลักการและเหตุผล
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี มีบทบาทด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ โดยเน้นการสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้กับทุกคณะวิชาของวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี รวมทั้งช่วยส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามแผนพัฒนาสำนักหอสมุดกลาง และแผนพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้นักศึกษามีความรู้ และทักษะที่สำคัญ และมีความพร้อมสู่ความเป็น Global Citizen เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งหอสมุดฯ ได้ดำเนินการในการสนับสนุนพันธกิจดังกล่าว ด้วยการเป็นแหล่งการเรียนรู้ ให้บริการสารสนเทศที่หลากหลายทั้งเป็นแหล่งสารสนเทศและแนะนำทักษะการสืบค้นเพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือสำหรับการแสวงหาความรู้ สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกเหนือจากนี้ ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ให้นักศึกษาได้มีทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน และดำรงชีวิตได้
และจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต บางครอบครัวมีภาระค่าใช้จ่าย หนี้สินที่เพิ่มขึ้น ทำให้ขาดสภาพคล่อง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการเรียน การทำงาน ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ในด้านการเงิน จะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถรับมือ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการเงินในสถาวะต่างๆ ได้
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชบุรี สำนักหอสมุดกลาง ได้รับการสนับสนุนความร่วมมือเป็นอย่างดีกับฝ่ายพัฒนาความรู้การเงินขั้นพื้นฐาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งมีพันธกิจสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ที่มุ่งหวังจะส่งเสริมและต้องการให้ความรู้กับนักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากรในด้านการออม การลงทุน การวางแผนด้านการเงิน ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานทางด้านการเงินที่ดีให้กับเยาวชน เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต
Objectvie
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน และการวางแผนการเงิน
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออม การลงทุน
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการวางแผนการลงทุนเบื้องต้นได้
เพื่อวางรากฐานทางการเงินที่ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและผู้สนใจทั่วไป
strategic response
ตอบสนองยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1
- Knowledge Sharing Centre ศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาและวิจัย คลังปัญญา คลังข้อมูล คลังสะสม และองค์ความรู้ที่มีความสำคัญของมหาวิทยาลัย และความสำคัญระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการศึกษา การวิจัย และการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ทั้งผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- มาตรการ 1.2.1 การจัดทำความร่วมมือ และดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศความร่วมมือกับคณะวิชา/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ยุทธศาสตร์ที่ 2
- LIFEBRARY : Life + Library การพัฒนาให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) พื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่ผู้ใช้ภายในและสังคมภายนอก
- มาตรการ 2.1.1 การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สร้างสรรค์ด้านต่างๆ ในรูปแบบ นิทรรศการ เสวนา การแสดง กิจกรรม และรูปแบบอื่นๆ
Project Responsible
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และงานพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
location
สถานที่ดำเนินงาน
วันพุธที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๗ ผ่านโปรแกรมออนไลน์ Zoom ฝ่ายหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
project performance
ผลการดำเนินงาน
โครงการ Library Talks เงินทองต้องวางแผน ประจาปี 2567 จัดขึ้นวันที่ 11 กันยายน 2567 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom มีจานวนผู้เข้าร่วมโครงการ 176 คน จาแนกเป็นนักศึกษาจานวน 166 คน บุคลากรสายสนับสนุนจานวน 9 คน และอาจารย์จานวน 1 คน มีความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 93.6 อยู่ในระดับมากที่สุด
โครงการ Library Talks เงินทองต้องวางแผน ประจำปี 2567 จัดขึ้นวันที่ 11 กันยายน 2567 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom มีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ 4 ประการ คือ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน และการวางแผนการเงิน 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการออม การลงทุน 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการวางแผนการลงทุนเบื้องต้นได้ 4. เพื่อวางรากฐานทางการเงินที่ให้แก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและผู้สนใจทั่วไป โดยประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป จำนวนผู้ตอบแบบประเมินออนไลน์มีจำนวนทั้งสิ้น 115 ชุด ได้รับกลับคืนมา 115 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 จำแนกสถานะของผู้ตอบแบบประเมินพบว่าเป็นนักศึกษาจำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 91.3 บุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 7.8 และอาจารย์จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9
No Data Found
2. สังกัด จำแนกสังกัดของผู้ตอบแบบประเมินพบว่าสังกัดคณะวิทยาการจัดการจำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 74.8 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 13 คณะสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีการเกษตรจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 7 สำนักหอสมุดกลางจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3 และสำนักงานอธิการบดีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.9
No Data Found
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการมีประเมินผลระดับความพึงพอใจ โดยมีเกณฑ์ในการวัดระดับความพึงพอใจ ดังนี้
ผู้ตอบแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อด้านเนื้อหาในการอบรมมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 4.71 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 4.49 มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก ด้านรูปแบบและวิธีการอบรมมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 4.6 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการประชาสัมพันธ์โครงการอบรมคิดเป็นร้อยละ 4.46 มีระดับความพึงพอใจในระดับมาก ด้านความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจคิดเป็นร้อยละ 4.76 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ 4.75 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็นคิดเป็นร้อยละ 4.8 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านการตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจนคิดเป็นร้อยละ 4.75 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านได้รับความรู้ ด้านการวางแผนด้านเงินมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.74 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และด้านความรู้ที่ได้รับมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันคิดเป็นร้อยละ 4.77 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (4.50-5.00=มากที่สุด / 3.50-4.49=มาก / 2.50-3.49=ปานกลาง / 1.50-2.49=น้อย / 0.50-1.49=น้อยที่สุด)
No Data Found
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
✦ เป็นโครงการดีมาก
✦ ต้องการให้มีจัดบ่อยๆ
✦ ต้องการให้วิทยากรทิ้งช่องทางการติดต่อไว้
✦ เป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ฟังสนุกฟังเพลิน
✦ สามารถนำไปวางแผนการเงินในอนาคตได้ดีมากๆ