โครงการ Open House  Wizard Day @ Thapra

principle and reason

หลักการและเหตุผล

            หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นศูนย์รวมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งหอสมุดฯ ได้จัดบริการพื้นที่การเรียนรู้และทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ  ผ่านกิจกรรมและโครงการในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนและเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักศึกษา เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียน รวมถึงสั่งสมเป็นคลังความรู้ของตนเองต่อไป โดยในปีการศึกษา 2567 มหาวิทยาลัยศิลปากร กำหนดให้เปิดภาคเรียนที่ 1 ในเดือนกรกฎาคม 2567

            ดังนั้นช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นโอกาสอันดีที่หอสมุดฯ จะได้จัดโครงการ “Open House : Wizard Day @ Thapra Library” เพื่อแนะนำการใช้ห้องสมุด แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ รวมไปถึงบริการต่าง ๆที่หอสมุดฯ ให้บริการกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมถึงนักศึกษาชั้นปีอื่น ซึ่งจะทำให้นักศึกษารู้จักหอสมุดฯ และบริการต่าง ๆ ของหอสมุดฯ และสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความสำเร็จในอนาคต  

Objectvie

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จัก และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้บริการต่าง ๆ ของหอสมุดฯ

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

project performance

ผลการดำเนินงาน

           โครงการ Open House  Wizard Day @ Thapra เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2567 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 230 คน เข้าร่วมกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ประกอบด้วย 3 ฐานเกมส์ คือ 1) ฐาน Alohomora ปลดล็อคเปิดประตูสู่พื้นที่หอสมุดวังท่าพระ 2) ฐาน Accio Opac คาถาเรียกหนังสือและสารพัดข้อมูลมาได้ดังใจ 3) ฐาน Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.72) จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 205 ชุด 2. กิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59) จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 76 คน

ผลการประเมินกิจกรรมสามารถนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

          1. กิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ประกอบด้วย 3 ฐานเกมส์ คือ 1) ฐาน Alohomora ปลดล็อคเปิดประตูสู่พื้นที่หอสมุดวังท่าพระ 2) ฐาน Accio Opac คาถาเรียกหนังสือและสารพัดข้อมูลมาได้ดังใจ 3) ฐาน Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.72) จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 205 คน

         1.1 ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

                    1) สถานภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 95.61 รองลงมาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มศก. จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.44 67 ศิษย์เก่า จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.98 อาจารย์ มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 และ บุคคลทั่วไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.49 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

อายุ  พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ 89.76 และช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 10.24 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้  

No Data Found

ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ คิดเป็นร้อยละ 33.82 รองลงมาจากป้ายประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 19.08 จากอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 18.21 จากเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 16.76 จาก SULIB Line Official คิดเป็นร้อยละ 8.67 และจากอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 3.47 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra

          ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 Accio Opac คาถาเรียกหนังสือและสารพัดข้อมูลมาได้ดังใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 โครงการฯสามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 Alohomora ปลดล็อคเปิดประตูสู่พื้นที่หอสมุดวังท่าพระ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 Green Expecto Patronum คาถาผู้พิทักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61

    สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 153 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ การแยกขยะ (10 คน) การตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม (1 คน)  การรับรู้ข้อมูล 3R ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะเพื่อช่วงเหลือสิ่งแวดล้อม (1 คน) นำข้อมูลการแยกขยะและการเข้าใช้ห้องสมุดไปสอนเพื่อน (1 คน) วิธีการยืมคืนหนังสือ (1 คน) การใช้ห้องสมุดอย่างถูกต้อง (1 คน) การค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด (1 คน) ได้รับความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดการค้นหาหนังสือต่าง ๆ, พื้นที่ภายในห้องสมุด การแยกขยะและการนำกลับไปใช้ใหม่ (1 คน) เรียนรู้ที่จะค้นคว้าหนังสือที่สนใจตามที่ตนเองต้องการ (1 คน) การแยกขยะตามสี การตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม (1 คน) สามารถนำความรู้มาต่อยอดกับการเรียนได้ (1 คน) ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงาน (1 คน) Gale/Jstor ทำให้รู้ว่ามีแหล่งให้สิบค้นได้อย่าง่าย (1 คน) ได้รับรู้แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม วารสาร/หนังสือต่างประเทศ ฟรี ทำให้ง่ายต่อการค้นคว้าวิจัย (1 คน) การแยกแยะแต่ละชนิดแต่ละประเภทให้ถูกต้องตามถังขยะที่ควรทิ้ง (1 คน) การคัดแยกขยะ การค้นหาหนังสือ การยืมคืน สามารถนำการคัดแยกขยะไปใช้ที่บ้านได้ (1 คน) รู้จักพื้นที่การใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆมากขึ้น (1 คน) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (1 คน) การอนุรักษ์โลก (1 คน) การแยกขยะ การดูแลสิ่งแวดล้อม (1 คน) ได้รับความรู้และหลักการแยกขยะ (1 คน) ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมนำไปต่อยอดในการใช้ในชีวิตประจำวัน (1 คน) การค้นหาหนังสือใน Opac (1 คน) ถ้าจะมายืมหนังสือในครั้งหน้าก็จะรู้ว่าต้องทำแบบใด (1 คน) ความทันสมัย และความสะดวกสบาย (1 คน) การสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจและวิธีการจัดการของกิจกรรม (1 คน) การแยกขยะ และการใช้ห้องสมุด (1 คน) ได้เรียนรู้วิธีการหาหนังสือให้ง่ายขึ้น (1 คน) หาหนังสือง่ายขึ้น (1 คน) Green Expecto Patronum (1 คน) กิจกรรมแยกขยะเพิ่มความรู้ (1 คน) การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (1 คน) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย (1 คน) กิจกรรมทุกส่วนนำไปใช้ได้หมด (1 คน) เจ้าหน้าที่น่ารักมากค่ะ (1 คน) การรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยแยกขยะ (1 คน) การสร้างสรรค์การจัดงาน จัดกิจกรรมที่น่าดึงดูด (1 คน) ประทับใจเกี่ยวกับเว็บไซต์ JSTOR (1 คน) กิจกรรม Green สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (1 คน) การหาหนังสือ (1 คน) การรู้จักหมวดหนังสือ/การใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ ของห้องสมุด (1 คน) การใช้ห้องสมุด การเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์ (1 คน) การแยกขยะ, การใช้งานห้องสมุด (1 คน) กิจกรรมสนุกทำให้ได้รับความรู้ และไขข้อข้องใจที่เกี่ยวกับบริการห้องสมุด (1 คน) การใช้ระบบห้องสมุด (1 คน) การใช้งานระบบสารสนเทศห้องสมุดได้ดีขึ้น (1 คน) ขยะรีไซเคิลทำได้ดี ได้ความรู้ได้อย่างดีในเวลาอันสั้น และไม่น่าเบื่อจนเกินไป (1 คน) ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม (1 คน) กิจกรรมน่าสนใจสามารถดึงดุดให้เข้ามาเล่นได้แบบเพลิน (1 คน) ได้ไอเดียการทำเกมส์ให้น่าเล่นน่าสนใจ (1 คน) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการค้นหาหนังสือออนไลน์ ซึ่งมันทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูล (1 คน) ได้รู้การค้นหาหนังสือในห้องสมุดหรือมุมค้นหาข้อมูล มีประโยชน์ต่อนักศึกษาใหม่ (1 คน) การสร้างแรงบันดาลใจจากการหาหนังสือที่สนใจ (1 คน) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสืบค้น (1 คน) ได้รู้เรื่องของสมุดที่ยังไม่เคยได้รู้ (1 คน) อธิบายระบบได้อย่างเข้าใจและทั่วถึง (1 คน) การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกง่ายดายทำให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลเพื่อทำงาน (1 คน) การรีไซเคิลและการรักษาสิ่งแวดล้อม (1 คน) เว็บไซต์และฐานข้อมูลการให้บริการของหอสมุด ระบบการยืมคืนข้ามวิทยาเขต ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และการรักษาสิงแวดล้อม (1 คน) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเองได้บ้าง (1 คน) ชอบการที่มีการนำเสนอโดยใช้เกมส์เพื่อเข้าถึงบุคคลได้ง่ายและง่ายต่อการเข้าใจ (1 คน) เกมส์สนุกมีความน่าสนใจ รวมถึงได้รับความรู้ที่ถูกต้อง พี่ๆตามฐานน่ารักมาก ๆ กอไก่ล้านตัว (1 คน) การค้นหาหนังสือได้ง่ายขึ้น (1 คน) การแยกขยะและแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ (1 คน) สถานที่ และธีมงานที่จัด (1 คน) การแนะนำส่วนต่าง ๆ ของห้องสมุด สามารถใช้งานห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (1 คน) การแยกขยะให้ถูกประเภท การเข้าถึงข้อมูลของห้องสมุดรวมทั้งการค้นหาหนังสือต่าง ๆได้ง่ายขึ้น (1 คน) การแนะนำห้องสมุดวิธีค้นหาหนังสือสามารถหาได้ง่ายขึ้น (1 คน) การเล่นเกมส์ (1 คน) หาหนังสือที่ต้องการได้ (1 คน) การจัดการและแยกขยะอย่างถูกวิธี (1 คน) รูปแบบการจัดงาน+ความรู้ที่ได้  (1 คน) การใช้ฐานข้อมูล Database เพื่อการศึกษา (1 คน) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน (1 คน) กิจกรรมที่ให้ความรู้ ส่งเสริมการใช้หนังสือ (1 คน) มีเกมส์ให้เล่น (1 คน) การใช้ห้องสมุดและการรักษาสิ่งแวดล้อม (1 คน) ประทับใจข้อมูลการหาหนังสือในห้องสมุด (1 คน) การใช้งานห้องสมุด โดยรู้ระบบงานมากขึ้น (1 คน) การแนะนำวิธีหาหนังสือและคืนหนังสือ (1 คน) การหาข้อมูล เปิดกว้าง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (1 คน) การจัดการระบบดีมาก ๆ (1 คน) การมีกิจกรรมในห้องสมุด (1 คน) การค้นหาหนังสือ (1 คน) วิธีการยืมหนังสือและการค้นหาหนังสือ (1 คน) การค้นหาหนังสือ  (1 คน) การใช้งานในห้องสมุดที่เราได้รับรู้ในแง่มุมมากขึ้น (1 คน) สร้างให้เห็นความสำคัญในการอ่านและสืบค้นเพื่อนำไปต่อยอดในสิ่งต่าง ๆ (1 คน) ความเข้าใจในการสืบค้นหนังสือ (1 คน) การใช้หน้าเว็บไซต์ค้นหาหนังสือ (1 คน) ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการห้องสมุด (1 คน) ได้เรียนรู้ขั้นตอนการค้นหาหนังสือ (1 คน) ได้เรียนรู้การคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ (1 คน) ให้ความรู้ที่ใช้ได้จริง (1 คน) มีกำลังใจในการค้นหาหนังสือ (1 คน) มีความเข้าใจในการเข้าใช้ห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ประทับใจในการใช้บริการของหอสมุด หนังสือในหอสมุดเยอะและดี (1 คน)  ได้ความรู้ที่สามารถใช้ได้จริง การแยกขยะ การสอนการยืมคืนหนังสือ (1 คน) การแยกขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อม (1 คน) ได้รู้จักการแยกขยะ การค้นหาข้อมูลในห้องสมุด (1 คน) นำความรู้มาใช้ในห้องสมุด (1 คน) การค้นหาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว ประทับใจพี่ๆที่คอยตอบข้อสงสัยได้ตลอด (1 คน) การแยกขยะ, การสืบค้นข้อมูลหนังสือในเว็บไซต์ (1 คน) การแยกขยะและการดูระบบ Database ของห้องสมุด (1 คน) ความเข้าใจระบบของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยและห้องสมุดในเครือ (1 คน) เกมส์และความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม (1 คน) งานน่ารักเห็นถึงความตั้งใจทำ (1 คน) ได้รับรู้ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีบริการแก่นักศึกษาเพิ่มมากขึ้น (1 คน) Alohomora และ Accio Opac สามารถนำกิจกรรมทั้งสองนี้ไปปรับใช้กับกิจกรรมครั้งต่อไปได้ (1 คน) การใช้ e-book gales สามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยได้ (1 คน) การนำมาปรับในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่อง การแยกขยะ (1 คน) การได้ความรู้หอสมุดและพื้นที่ภายใน และสิ่งแวดล้อม (1 คน) การใช้งานห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1 คน) การใช้ห้องสมุดที่ถูกต้อง (1 คน) การเข้าใช้ห้องสมุและการแยกขยะ (1 คน) วิธีการใช้งานห้องสมุดและแหล่งข้อมูล (1 คน) ข้อมูลที่ได้เรียนรู้จากหอสมุด (1 คน) ประทับใจพื้นที่บริการของห้องสมุด (1 คน) ความประทับใจในการ search online (1 คน) บรรยากาศในห้องสมุดที่ดีและการจัดหมวดหมู่ที่เข้าใจง่าย (1 คน) ได้ความรู้ที่เข้าถึงง่าย (1 คน) ความเป็นระเบียบของการวางหนังสือ และความสวยงามของห้องสมุด (1 คน) การอ่านหนังสือและยืมหนังสือได้ถูกต้อง (1 คน) การออกแบบอย่างยั่งยืน (1 คน) จะเข้าห้องสมุดเพื่อมาหาข้อมูลมากขึ้น (1 คน) การอธิบายเกี่ยวการใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด (1 คน) การแยกขยะ การใช้บริการห้องสมุด การค้นหาหนังสือ และการยืมคืนหนังสือ (1 คน)

          (หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 29 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ อยากให้มีกิจกรรมมากกว่านี้ (1 คน) อยากให้มีหนังสือใหม่หมวดอ่านเล่นทั่วไป เพิ่มเติม (1 คน) ความนุกของเกมส์ในแต่ละฐานกิจกรรม อยากให้มีความสนุกมากกว่านี้ (1 คน) อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนมาร่วมกิจกรรมมากกว่านี้ (1 คน) การเข้าห้องสมุดติ๊ดบัตรยาก (1 คน) อยากให้มีห้องสำหรับทำกิจกรรมมากกว่านี้ (1 คน) อยากให้มีที่นั่งเพิ่ม และห้องทำงาน ห้องภาพยนต์เพิ่ม (1 คน) เกมส์จัดผิดภาพยากไป (1 คน) อยากให้เพิ่มห้องประชุมหรือจองห้องประชุมออนไลน์ (1 คน) อยากให้มีมิโกะเพิ่มค่ะ (1 คน) อยากได้หมอนหนุนหลังกันเมื่อยค่า (1 คน) เพิ่มนิยายให้มากขึ้น อยากให้ขายกระเป๋าห้องสมุดสีดำ (1 คน) งานสนุก เกมส์สนุกแถมได้ความรู้ (1 คน) อยากให้เพิ่มพื้นที่ที่นั่ง (1 คน) หามาตราการที่จะลดการเก็บค่าปรับหนังสือที่เกินกำหนด และอยากให้ขายประเป๋าใส่หนังสือของห้องสมุด 100 บาท (1 คน) อยากให้มีที่นั่งเพิ่ม และอยากให้ขายกระเป๋าสีดำของห้องสมุด (1 คน) เพื่อนชอบยืมหนังสือแล้วไม่คืน จึงอยากให้มีมาตรการทางกฎหมาย อยากให้มีบอร์ดเกมส์ (1 คน) อยากให้มี workshop ต้นไม้ (1 คน) อยากให้ปรับปรุงตรงเกมส์จับผิดภาพให้พอครบ 5 แล้วผ่านด่านเองโดยไม่ต้องกดเลื่อน (1 คน)  เกมส์จับผิดเวลาน้อยไปหน่อยค่ะ (1 คน) อยากให้มีการแจกขนมเล็กน้อย หรือของรางวัลเมื่อผ่านด่าน และอยากให้เกมส์ยากกว่านี้และหลากหลายกว่านี้ (1 คน) หนังสือน้อย โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบที่ยั่งยืน (1 คน) อยากให้มีหนังสือเกี่ยวกับ Mental Health, Landscape, Environment เยอะกว่านี้นิดนึง (1 คน) จำนวนเวลาที่จัดกิจกรรม และรางวัล (1 คน) อยากให้มีการนำเสวนาการใช้งานฐานข้อมูล Database ตัวอื่น ๆ (1 คน) อยากให้ห้องสมุดมีห้องอัด Podcast (1 คน) ความหลากหลายของข้อมูล (1 คน) อยากให้มีการยืมหนังสือรูปเล่มจากห้องสมุดในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ (1 คน) เพิ่มของรางวัล (1 คน)

          (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 41 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ การแนะนำหนังสือ (1 คน) กิจกรรมเล่นเกมส์แบบนี้แหละค่ะ มีของรางวัล workshop (1 คน) การจัดบรรยายของอ.ชาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (1 คน) อยากให้มีกิจกรรมเพิ่ม (1 คน) The mc rococo (1 คน) กิจกรรมสนุกๆให้เล่นเกมส์ (1 คน) รูปแบบการจัดงาน (1 คน) รูปแบการจัดงาน แต่ก็สนุก อยากให้มีคนเล่นมากกว่านี้ (1 คน) จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ทันสมัย ไม่น่าเบื่อ (1 คน) วิทยากรด้านการคัดแยกขยะ/การนำขยะไปใช้ประโยชน์ (1 คน) การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่นักศึกษาแต่ละคนชอบ นำมาพูดคุยกันในวง เช่น กิจกรรมอ่านหมู่ ที่จัดขึ้นโดยเพจ Justread (1 คน) แจกต้นไม้ (1 คน) อยากให้เพิ่มหัวข้อ ผู้สูงอายุกับเมือง (1 คน) กิจกรรมน่ารักเข้าถึงง่าย ขอบคุณพี่มาก ๆที่จัดกิจกรรม (1 คน) อยากให้มีการแจกต้นไม้รักโลกอีกค่ะ (1 คน) อยากให้มีเล่นเกมส์อีก ชอบค่ะ (1 คน) กิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ (1 คน) อยากได้กิจกรรม workshop ทำที่กั้นหนังสือ โดมไฟ และการขายกระเป๋าผ้าสีดำของห้องสมุด (1 คน) อยากให้ขายกระเป๋าผ้าสีดำของห้องสมุดค่ะ ใช้ดีมากจนอยากซื้อเลยค่ะ (1 คน) อยากให้มีเกมส์เพิ่ม สนุกค่ะ (1 คน) อยากให้ขายกระเป๋าแบบห้องสมุด ใช้ดีมาก (1 คน) อยากให้แจกกระเป๋าห้องสมุดเป็น Limited (1 คน) ฉายหนังเหมือนวันอ.ศิลป์ (1 คน) workshop ต้นไม้ (1 คน) อยากทำงานประดิษฐ์ (1 คน) อยากให้มีเกมส์เพิ่ม (1 คน) อยากให้มีหัวข้อเกี่ยวกับการทำเกมส์หรือบอร์ดเกมส์ แล้วก้มีหนังสือเกี่ยวกับเกมส์มากขึ้น (1 คน) อยากให้ทางหอสมุดมีการทำข้อมูลประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเข้าใช้งานของบุคคลทั่วไป/บุคคลภายนอกหรือจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความเป็นมาและประวัติของหอสมุดกลาง (1 คน) รูปแบบการจัดงาน และการโปรโมทในวงกว้าง (1 คน) Deep talk ความรู้ต่าง ๆแลกเปลี่ยนความรู้ (1 คน) กิจกรรมที่มากขึ้น อาจจะสัก 5- 6 ฐานกิจกรรม (1 คน) การจัด Workshop, Exhibition (1 คน) การจัดกิจกรรมแฟนพันธุ์แท้ (1 คน) เพิ่มฐานเกมส์ (1 คน) อยากให้มีกิจกรรมมากกว่านี้หรือจัดนอกห้องสมุด (1 คน) อยากได้ฐานสี่ฐานจะได้เป็นแฮรี่พอตเตอร์ (1 คน) เกมส์สนุกๆ (1 คน) ชอบการจัดการแบบกิจกรรมให้ร่วมสนุก (1 คน) กิจกรรมให้ความรู้ (1 คน) อยากฟังวิทยากรด้านสถาปัตยกรรม (1 คน) การเพิ่มที่นั่งอ่านหนังสือ (1 คน)

        2. กิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59) จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 76 คน

        1.2 ผลการประเมินกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

               1) สถานภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 93.42 รองลงมาเป็นอาจารย์ มศก. จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.26 และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.32 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

อายุ  พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ 89.76 และช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 102.4 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้  

No Data Found

ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ คิดเป็นร้อยละ 33.82 รองลงมาจากป้ายประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 19.08 จากอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 18.21 จากเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 16.76 จาก SULIB Line Official คิดเป็นร้อยละ 8.67 และจากอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 3.47 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR

          ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ คือ กิจกรรมนี้สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58

         กิจกรรมนี้ก่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากร, องค์ความรู้ หรือพื้นที่เรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการศึกษา และการค้นคว้าวิจัย

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่ก่อให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากร, องค์ความรู้ หรือพื้นที่เรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการศึกษา และการค้นคว้าวิจัย จำนวน 34 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ กิจกรรมนี้ทำให้รู้ว่ามีระบบรวบรวมฐานข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์มากในการศึกษา (1 คน) ทำให้ทราบถึงการใช้ระบบต่าง ๆในห้องสมุด (1 คน) ทำให้รู้ว่าห้องสมุดมีฐานข้อมูลอะไรบ้าง (1 คน) เข้าถึงวิธีการหาหนังสือเล่มที่ไม่รู้จักได้มากขึ้น (1 คน) ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น (1 คน) ได้รู้ว่าในห้องสมุดมีสื่อความรู้ที่ดีให้ใช้ (1 คน) ทำให้นักศึกษาเข้าถึงวารสารเก่าๆได้ง่ายขึ้น (1 คน) ทำให้สามารถหาความรู้มากกว่าเดิม (1 คน) สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่มากขึ้น เห็นหนังสือได้กว้างขึ้น (1 คน) ได้เรียนรู้แหล่งข้อมูลใหม่ๆ (1 คน) ขอ 3 เดือนในการทดลองใช้งาน อยากใช้งานในช่วงท้ายเทอม (1 คน) อยากให้ห้องสมุดใช้ฐานข้อมูล ARTSTOR (1 คน) เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และดีก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น (1 คน) ใช้ช่วงที่ต้องการทำรายงานและแหล่งข้อมูลไม่เพียงพอ (1 คน) เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก (1 คน) เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่ายสามารถค้นหาบทความหัวข้อที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว (1 คน) ให้ความรู้ที่ต้องการในงานวิจัยได้อย่างรวดเร็ว (1 คน) ได้ความรู้ในการค้นคว้าหาความรู้ทางวิชาการ (1 คน) ได้ความรู้การใช้ประโยชน์ของเว็บไซต์ฐานข้อมูล (1 คน) ได้รับความรู้ในการเข้าใช้ห้องสมุด (1 คน) ได้รู้การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องสมุดหรือการค้นคว้าข้อมูล (1 คน) อยากให้เปิดใช้ในช่วงเดือนสิงหาคม (1 คน) เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา (1 คน) มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ และเนื้อหาการเรียนต่าง ๆ (1 คน) ARTSTOR น่าจะมีประโยชน์มากสำหรับมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเน้นการเรียนการสอนศิลปะ ควรทำให้สามารถเข้าใช้ได้ตลอด (1 คน) มีประสิทธิภาพมากขึ้น (1 คน) เข้าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1 คน) ได้ค้นพบเว็บไซต์ใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ (1 คน) มีประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูล (1 คน) หนูสามารถใช้ไปจนตายเลยได้มั้ย หนูชอบของฟรี (1 คน) ส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1 คน) ส่งเสริมการค้นคว้าฐานข้อมูล หนังสือ ทำให้รู้ว่ามีฐานข้อมูลที่เข้าถึงง่าย (1 คน) สามารถรู้ถึง DATA base ที่มีประโยชน์สำหรับการเรียน (1 คน) ได้รู้ถึงวิธีการค้นข้อมูลในรูปแบบหนึ่ง (1 คน)

สรุป

          โครงการ Open House  Wizard Day @ Thapra มีผลสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการ โดยเชิงปริมาณจำนวนการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ซึ่งบรรลุเป้าหมายโครงการ เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวมทั้งโครงการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม Open House  Wizard Day @ Thapra ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 ความพึงพอใจกิจกรรมแนะนำวิธีการสืบค้นข้อมูล ฐานข้อมูล Gale และ JSTOR ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59)

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง