โครงการสุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

principle and reason

หลักการและเหตุผล

         อาคารอนุรักษ์ในวังท่าพระอยู่ในความครอบครองของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่โดยประกอบไปด้วยท้องพระโรงวังท่าพระ ตำหนักกลาง ตำหนักพรรณราย และศาลาในสวนแก้ว อาคารทุกหลังยังคงสภาพเดิมเหมือนเมื่อครั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ยังประทับอยู่ กล่าวได้ว่าเจ้านายที่เสด็จประทับทุกพระองค์จนถึงองค์สุดท้ายที่ประทับที่วังนี้ล้วนเป็นช่างและกำกับกรมช่าง จนต่อมาได้กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเริ่มต้นด้วยวิชาการด้านศิลปะทั้งสิ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรใช้อาคารกลุ่มวังท่าพระเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร และอนุรักษ์สวนแก้วไว้ในสภาพเดิม ต่อมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้ง รวมทั้งศาลาดนตรีซึ่งอนุรักษ์ไว้ในสภาพเดิมและเปิดใช้เฉพาะในกิจกรรมสำคัญทางวัฒนธรรม

         การสำรวจและสันนิษฐานรายละเอียดงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นการนำเสนอและตีความวิธีการสื่อสารที่แตกต่างจากกระบวนการศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรมในมิติที่แตกต่างออกไปด้วยความเข้าใจภูมิปัญญา โดยวิธีการประกอบสร้างในอดีตล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible heritage) ซึ่งในปัจจุบันองค์ความรู้ดังกล่าวไม่ได้ถูกบันทึกและสืบทอดอย่างแพร่หลาย

           ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปะและการออกแบบที่ตั้งอยู่ในวังท่าพระ จัดโครงการสุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในวังท่าพระที่สำรวจจะเป็นอาคารอนุรักษ์วังท่าพระ ได้แก่ บานประตูไม้ซุ้มประตูทางเข้าวังท่าพระ บานประตูไม้ข้างอาคารท้องพระโรง เชื่อมต่อตำหนักพรรณราย บานประตูไม้และบานหน้าต่างไม้ภายในอาคารท้องพระโรงและตำหนักพรรณราย และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของศาลาดนตรีในสวนแก้ว ด้วยการสำรวจทางกายภาพเบื้องต้นจากการถ่ายภาพ พร้อมด้วยสันนิษฐานรายละเอียดวิธีการประกอบสร้างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม เขียนแบบรายละเอียดการสันนิษฐาน และจัดทำตัวอย่าง งานไม้แสดงวิธีการประกอบสร้างบางส่วนที่มีนัยสำคัญ และจัดแสดงนิทรรศการองค์ความรู้รายละเอียดงานไม้ทางสถาปัตยกรรมและบรรยายทางวิชาการ ด้วยความร่วมมือกับอาจารย์สันธาน เวียงสิมา สถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเทคนิคงานไม้สถาปัตยกรรม และอาจารย์สรรสุดา เจียมจิต สถาปนิก อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการสำรวจและสันนิษฐานรายละเอียดงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ทั้งในด้านของการบันทึกรายละเอียดงานไม้ของอาคารเก่าวังท่าพระที่มีคุณค่าเพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อไป ในแง่ของการศึกษาเปรียบเทียบ การสร้างแรงบันดาลใจ และการอนุรักษ์

Objectvie

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดงานไม้ทางสถาปัตยกรรมของกลุ่มอาคารเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ในรูปแบบนิทรรศการและการบรรยายทางวิชาการ

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

project performance

ผลการดำเนินงาน

          โครงการสุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 6 มีนาคม – 30 เมษายน 2567 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน เข้าร่วมกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมนิทรรศการ “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรม ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ” ระหว่างวันที่ 6 มีนาคม – 30 เมษายน 2567 2) กิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรม ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ” ในวันที่ 6 มีนาคม 2567 3) กิจกรรม Workshop การเรียนรู้และการประกอบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไม้ ในวันที่ 20 และ 21 เมษายน 2567 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.67) จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 75 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผลการประเมินกิจกรรมสามารถนำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

สถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 38.67 รองลงมาเป็นนักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 18.67 ศิษย์เก่า จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 16.00นักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มศก. จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 อาจารย์ มศก. จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 และสายสนับสนุน มศก. จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.67 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

อายุ  พบว่า ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 รองลงมาช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 21.33 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5.33 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้  

No Data Found

ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook หอสมุดวังท่าพระ คิดเป็นร้อยละ 31.25 รองลงมาจากเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 21.74 จากอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 18.48 จากป้ายประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 15.22 จากอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 7.61 และจาก Line คิดเป็นร้อยละ 5.43 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

No Data Found

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการสุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรมภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

          ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ เสวนาเรื่อง “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรม ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ” ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ตระหนักถึงคุณค่ารายละเอียดของงานไม้ทางสถาปัตยกรรมในกลุ่มอาคารเก่า มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เพื่ออนุรักษ์ให้อาคารคงอยู่ต่อไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 นิทรรศการ “สุนทรียะในงานไม้สถาปัตยกรรม ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ” ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 กิจกรรม Workshop การเรียนรู้และการประกอบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไม้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46

          สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 49 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ รายละเอียดในแนวคิดการทำงานไม้ (1 คน) วิธีการที่จะได้งานไม้นั้น ๆ ที่อาจารย์เล่า (1 คน) การร่วมอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมงานไม้ของไทย (1 คน) การต่อยอดงานที่สร้างสรรค์ (1 คน) ได้มองงานไม้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างเข้าใจ และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น (1 คน) รายละเอียดของรอยต่อไม้ (1 คน) รายละเอียดในการบรรยายและนิทรรศการเกี่ยวกับในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไม้ (1 คน) ชอบของเล่นต่อไม้ ทำให้เห็นการทำงานไม้มากขึ้น (1 คน) นึกถึงงานไม้ใกล้ตัวที่ผ่านมาในช่วงอตีด (1 คน) บรรยากาศของการจัดนิทรรศการและกิจกรรมสัมมนาเรียบง่ายเป็นกันเอง (1 คน) ความละเอียด ช่างสังเกตุ และความมุ่งมั่นในความชอบของวิทยากร (1 คน) ลองสัมผัสสิ่งใกล้ๆตัว และคิดถึงสุนทรียะ ลองคาดคะเนกรรมวิธีการผลิต/ก่อสร้าง (1 คน) การอนุรักษ์งานไม้เก่าเป็นการรักษาความรู้ทางเชิงช่างที่สืบต่อกันมา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน (1 คน) องค์ความรู้เรื่องงานไม้ (1 คน) เทคนิคและความคิดต่าง ๆ นำมาใช้สร้างสรรค์งานศิลปะ (1 คน) การตระหนักและเข้าใจถึงแก่นแท้ของการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี (1 คน) สามารถนำไปปรับใช้ในสายงานปัจจุบัน (1 คน) สามารถนำรายละเอียดเอาไปทำงานให้มีคุณภาพของวัสดุประเภทงานไม้มากขึ้น (1 คน) สามารถสังเกตองค์ประกอบสถาปัตยกรรมได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น (1 คน) เนื้อหาที่พุงเป้า และเป็น series ของอ.สันธาน ซึ่งหากฟังต่อเนื่องจะเกิดความเข้าใจในงานไม้ขึ้นมาก ๆ (หากจัดกิจกรรมเป็น series จะได้ผลดีมาก) (1 คน) 1. การใช้เดือยในการเชื่อมต่อไม้ ในรูปแบบต่าง ๆ 2. การอ่านคู่โครงสร้างสถาปัตยกรรมของอาคารต่าง ๆ (1 คน)ความรู้ที่อาจารย์นำมาสอน รูปถ่าย งานไม้ วิธีการสอนของอาจารย์ช่วยเปิดมุมมองใหม่ต่องานที่ทำอยู่ (1 คน)รู้แนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจในงานไม้มากขึ้น (1 คน) ความรู้และความเข้าใจในองค์ประกอบของงานไม้มากขึ้น (1 คน) ทำให้ตระหนักถึงคุณค่างานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ (1 คน) วิธีการสังเกตรอยต่อการคำนวณและการจัดขนาดสามารถเอาไปต่อยอดในผลงานศิลปะ (1 คน) การได้ฝึกสังเกตรายละเอียดในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทย (1 คน) ได้วิเคราะห์สเกลสถาปัตยกรรมงานจริง (1 คน) การนำความรู้ไปต่อยอดงานในอนาคตในการออกแบบผลงานต่าง ๆ (1 คน) ความเข้าใจในพื้นฐานรอยต่องานไม้ ทำให้เราสังเกตองค์ประกอบสถาปัตยกรรมได้สนุก สันนิฐานที่มา และประวัติศาสตร์จากรอยต่อไม้ (1 คน) รอยต่อเดือยต่าง ๆ ช่วยให้เข้าใจการประกอบงานไม้ในสถาปัตยกรรมมากขึ้น ช่วยส่งเสริมงานที่ทำ ทั้งงานออกแบบทั้งภายในและภายนอก และทำให้สามารถแกะ/คาดเดางานไม้เก่าได้ (1 คน) การใช้ตัวอย่างที่จำลองมาจากแบบจริงสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่าย (1 คน) ส่วนนิทรรศการที่ได้ทำให้เห็นภาพจากตัวอย่างแบบจำลองที่วิทยากรได้นำมา/ส่วนการเสวนาทำให้เข้าใจหลักกการวิธีคิดการทำงาน และระบบงานไม้ (1 คน) มีตัวอย่างทำให้สามารถเข้าใจได้ง่าย (1 คน) เข้าใจศิลปะ การสร้างงานไม้ได้มากขึ้น (1 คน) สามรถนำความรู้จากงานไม้ไปต่อยอดประกอบเป็นงานฝีมือสร้างรายได้เป็นอาชีพได้ (1 คน) ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมไม้ในสมัยโบราณที่สวยงาม (1 คน) เข้าใจองค์ประกอบเกี่ยวกับงานไม้ต่าง ๆ (1 คน) การออกแบบองค์ประกอบในรายละเอียดด้วยความสามารถของวัสดุที่ทำให้เกิดความงาม (1 คน) นำขั้นตอนและวิธีการในการเข้าสลักไปใช้กับงานที่จะทำขึ้นในอนาคต (1 คน) นำไปใช้ประกอบอาชีพ (1 คน) ภาพลายเส้นสันนิษฐานและแบบจำลองสถาปัตยกรรมของวังท่าพระ (1 คน) การนำการต่อไม้พร้อมภาพประกอบมาให้เห็นทีละส่วนอย่างชัดเจน (1 คน) สามารถเอาองค์ความรู้จากกิจกรรมนี้ไปต่อยอดอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ได้ (1 คน) ขั้นตอนการทำงานมีกระบวนการที่ซับซ้อน สามารถนำเอาไปสร้างสรรค์ในงานได้ (1 คน) นำไปใช้ในการออกแบบ และเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานไม้มาใช้และประยุกต์ใช้กับงานออกแบบ (1 คน) ออกแบบงานไม้ ต่อยอด ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาใช้ทั้งงานออกแบบและงานอนุรักษ์อาคารไม้ (1 คน) การสร้างเรือนไม้ที่ไม่ใช้ตะปู (1 คน) นำความรู้เกี่ยวกับงานไม้เพื่ออกแบบงานประกอบอาคารไม้ในสถาปัตยกรรม (1 คน) ประทับใจที่ประเด็นหลักคือนำสิ่งของที่มีอยู่แล้วในมหาวิทยาลัย ทำให้เห็นภาพง่าย มีตัวอย่างชัดเจน (1 คน)

          (หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 18 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ มีช่องทางประชาสัมพันธ์มากขึ้น (1 คน) สถานที่ดาวน์โหลดข้อมูล (1 คน) อยากให้มีกิจกรรม workshop หรือแสดง process การทำงาน (กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในกิจกรรม) (1 คน) ระบบลำโพงเสียงได้ยินไม่ทั่วถึง ควรเพิ่มลำโพง เสียงคนคุยกัน ตรงทางเดินรบกวน (1 คน) ภาพและสื่อขนาดเล็ก กลุ่มมุงดูแล้วมองไม่เห็น อาจจะมีการขึ้นจอหรือสไลด์ให้เห็นทั่วถึง (1 คน) ถ้ามีช่วงเวลาที่เดินเสวนาไปด้วยกัน น่าสนุกมากขึ้น (1 คน) นำจะเอาทุกอย่างขึ้นจอ เพื่อให้ทุกคนเห็นชัด (1 คน) 1. Exhibition Area ควรปรับเป็นสาธารณะเข้าถึงได้โดยไม่ต้องผ่านพิธีการมากนัก 2. แบบสอบถาม ควรปริ้นท์บนกระดาษ 2 ด้าน เพื่อลดการใช้ทรัพยากร (1 คน) ในการทำ workshop อาจจะให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทำการบ้านหรือสำรวจงานไม้จากสถานที่ต่าง ๆ อาจจะได้งานไม้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น (1 คน) อยากได้ audio guide ประกอบการนำชมนิทรรศการ (1 คน) เพิ่มแผนที่ สำหรับที่จอดรถจุดต่าง ๆ (1 คน) อยากให้มีการโปรโมทกิจกรรมที่มากกว่านี้อีกนิดนึง (1 คน) อยากได้ข้อมูลมากกว่านี้เกี่ยวกับไม้ที่นำมาใช้งาน (1 คน) เอกสารประกอบกิจกรรม (1 คน) การเข้าชมควรมีป้ายหรือชี้นำที่สามารถเห็นได้ง่ายในการเข้ามาชม (1 คน) ชอบการออกแบบพื้นที่การจัดแสดง (1 คน) อยากให้มีตัวอย่างงานไม้มาให้ดูเยอะขึ้น ชาร์ตงานแสดงภาพ 3 มิติสวยดี แต่ได้ประโยชน์ไม่เยอะเท่ากับ Animation ดูแล้วเข้าใจง่าย ชอบมาก (1 คน) ระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมที่ลงลึกมากขึ้น (1 คน)

          (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 25 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรงนิทรรศการภาพวาด, นิทรรศการภาพถ่าย (1 คน) นิทรรศการภาพถ่าย, นิทรรศการเกี่ยวกับหนังสือทรงคุณค่าหรือหนังสือที่เป็นที่นิยม (1 คน) รูปแบบการกิจกรรมที่การ workshop (1 คน) กิจกรรมที่การ workshop (1 คน) ขอบคุณที่จัดงานให้ความรู้ต่าง ๆ แก่สาธารณชน (1 คน) การบรรยาย (1 คน) อยากเห็นอุปกรณ์เครื่องมือช่าง และเห็นสัดส่วนจริงของชิ้นส่วนงานไม้ กรอบ/บานหน้าต่าง,ประตู (1 คน) อยากฟังประสบการณ์ในการทำงานไม้ (1 คน) พื้นที่ที่มีสมาชิกกับผู้ฟังและวิทยากร/ช่วงเวลาไม่เย็นมาก, กลางวัน  (1 คน) 1. ความเป็นวังท่าพระ ประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่วิทยากร นักวิชาการ อาจารย์ประวัติศาสตร์ศิลปะ กับญาติของผู้เคยครองหรืออยู่วัง เช่น ทายาทของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, หลักฐานทางลายลักษณ์ เช่น คุณอ้วนสำนักพิมพ์ต้นฉบับ 2. อาจจะร่วมมือกับมิวเซียม เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร, มิวเซียมของวัดมหาธาตุ, วัดสุทัศนเทพวราราม ตาลปัตร ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 3. ท่าช้าง-ท่าพระ ประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ต้นกรุง-ปัจจุบัน 4. ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับวรรณกรรมความสัมพันธ์กับร. 3, วังท่าพระและความสัมพันธ์กับ rare book collection ของมหาวิทยาลัย วิทยากร อาจารย์ด้านภาษาไทยโบราณคดี หรือ อักษรศาสตร์ (1 คน) การเดินดูงานแล้ววิเคราะห์ไปพร้อมกันอาจจะจัดในวันที่อากาศดี/เอื้ออำนวย ไม่ร้อน (1 คน) ช่วงแรกเป็นการเสวนาด้วยด้วยภาพ ซึ่งบางคนอาจจะมองไม่เห็น คิดว่าถ้าปรับเป็นฉายโปรเจคเตอร์จะช่วยได้มาก (1 คน) พาเดินชมรายละเอียดงานสถาปัตยกรรมยุค ร.5-ร.6 และพูดถึงรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ (1 คน) เอกสารประกอบนิทรรศการ, แผ่นพับ, สูจิบัตร เป็นต้น (1 คน) สถาปัตยกรรมและการวางผัง มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตวังท่าพระ และวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (1 คน) อยากให้มีการ collaboration ระหว่างอาจารย์สายศิลปะกับอาจารย์ที่ทำงานกันคนละสายที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ (1 คน) เปิดบรรยาย และให้มีการ brainstorm เพิ่มเวลามากขึ้นเพราะได้ประโยชน์จากคำถามของผู้ที่มาร่วมงาน (1 คน) อยากให้มี web exhibition เพื่อคนที่ไม่สามารถมาชมด้วยตนเองได้จะได้มีโอกาสเรียนรู้มากขึ้น (1 คน) วิทยากร และดูงานในศิลปากร – อยากให้มีการสอนการจดบันทึก การ Drawing (1 คน) การลงมือทำจริง (1 คน) อยากเห็นชิ้นงานจัดแสดงมากกว่านี้ (1 คน) ควรนำองค์ความรู้ไปนำเสนออยู่ใกล้ กรณีศึกษา เช่น นำองค์ความรู้เรื่องประตูไปตั้งแสดงไว้ทั้ง ๆประตูที่ทำการศึกษา (1 คน) อยากให้มีภาพเคลื่อนไหวให้ดูเยอะๆ (1 คน) 1. สถานที่จัดแสดงในห้องสมุดพื้นที่จำกัด เนื้อหาในการเข้าไม้ และงานไม้เยอะมากในหนังสือที่นำมาจัดแสดง แต่ไม่ได้นำมาจัดแสดงโชว์ต้องเปิดดูและอ่านเอาในหนังสือซึ่งมีจำนวนน้อย 2. ของเล่นไม้สนุกมาก แต่เล่นเสียงดังไม่ได้เพราะอยู่ในห้องสมุด โดยรวมดีมากชอบมาก (1 คน) ขอบคุณที่นำความรู้มาจัดแสดง ครั้งหน้ามีโอกาสจะเข้าร่วมและติดตาม งานอนุรักษ์ งานศิลป์หลายประเภทและงานประณีตศิลป์อีกหลายๆ แขนง (1 คน)

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง