โครงการบริการวิชาการ Art Book Fair 2567

principle and reason

หลักการและเหตุผล

            สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานคือการเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต และสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับชาติและระดับสากล ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ก่อตั้งหอสมุดวังท่าพระ ได้ทำหน้าที่ในการจัดหา และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การศึกษา การวิจัย ส่งเสริมวิชาการ และวิชาชีพแก่คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรภายใน ประชาชน และการให้บริการแก่สังคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มก่อตั้งเพื่อสนับสนุนให้เป็นสังคมของการเรียนรู้ จากงบประมาณที่ได้รับ ตลอดจนการหาคู่ความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน

           ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ ดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศโดยการรับฟังเสียงของผู้ใช้บริการในด้านการเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการโดยผ่านคณะ ภาควิชา สาขาวิชา ระบบการเสนอซื้อ และแบบไม่เป็นทางการโดยการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ตอบสนองความต้องการกับผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม การรับฟังเสียงผู้ใช้บริการในด้านการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบการเสนอซื้อโดยผู้ใช้บริการนี้เอง จึงเกิดโครงการบริการวิชาการ Art Book Fair ขึ้นเพื่อส่งเสริมการจัดหาทรัพยากรที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับนักอ่านทั้งในและนอกประชาคมศิลปากรได้ซื้อหนังสือที่มีคุณภาพ และมีจุดเด่นโดยเน้นด้านศิลปะและการออกแบบ รวมถึงยังมีการจัดหาร้านค้าจำหน่ายผลงานศิลปะด้วย

           โดยในปี 2566 ที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นครั้งแรก ได้มีผู้สนใจซึ่งเกินค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระจึงได้เล็งเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเห็นควรต้องจัดต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหนังสือทำมือจากวิทยากรผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือต่อยอดเป็นการประกอบอาชีพเสริมได้ต่อไป

Objectvie

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ประชาคมมหาวิทยาลัยศิลปากรและประชาชนทั่วไปได้เลือกซื้อหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ

2. เพื่อให้ความรู้ด้านการทำหนังสือทำมือแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

ตัวชี้วัด
หน่วยนับ
เป้าหมาย
ผลผลิต ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
- จำนวนกิจกรรม
กิจกรรม
5
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
- ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ค่าเฉลี่ย
4.57

project performance

ผลการดำเนินงาน

          โครงการบริการวิชาการ Art Book Fair จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 20 – 24 กุมภาพันธ์ 2567 ประกอบด้วย 5กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมออกร้านจำหน่ายหนังสือศิลปะและผลงานสร้างสรรค์ (Illustration) เช่น งานพิมพ์ (Art Print), ซีน (Zine), งานสิ่งพิมพ์, งานกระดาษ, การ์ด, โปสการ์ด, สติกเกอร์ เป็นต้น 2) กิจกรรมอบรมหนังสือทำมือ 3) กิจกรรมแบ่งปันหนังสือ 4) กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “อาจารย์ศิลป์ กับงานเหรียญอันทรงคุณค่า” 5) กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “100 ปี การเดินทางมาถึงสยาม ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4,441 คน

         จำแนกผู้เข้าร่วมกิจกรรมและการประเมินผล  ดังนี้ คือ

          1) กิจกรรมออกร้านจำหน่ายหนังสือศิลปะและผลงานสร้างสรรค์ (Illustration) มีร้านเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ คือ ร้านจำหน่ายหนังสือศิลปะและการออกแบบ จำนวน 18 ร้าน ผลงานสร้างสรรค์ (Illustration) จำนวน 14 ร้าน และร้านอาหาร/เครื่องดื่ม จำนวน 6 ร้าน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 4,441 คน ผลการประเมินแบ่งออกเป็นการประเมินจากผู้เข้าร่วมโครงการและการประเมินจากผู้จำหน่ายสินค้า ดังนี้ คือ

           1.1 ผลการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ Art Book Fair มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 790 คน นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

          ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

สถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 315 คน คิดเป็นร้อยละ 39.87 รองลงมา คือ นักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 26.33 นักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 14.94 สายสนับสนุน จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 8.23 ศิษย์เก่า จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 4.05 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 3.42 และอาจารย์ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 3.16 แสดงเป็นตาราง ดังนี้

สถานภาพ
จำนวน (N=790)
ร้อยละ
บุคคลทั่วไป
315
39.87
นักศึกษาปริญญาตรี มศก.
208
26.33
นักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน
118
14.94
สายสนับสนุน มศก.
65
8.23
ศิษย์เก่า
32
4.05
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
27
3.42
อาจารย์ มศก
25
3.16

อายุ  พบว่า ส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 22 – 59 ปี จำนวน 484 คน คิดเป็นร้อยละ 61.42 รองลงมา คือ ช่วงอายุ 13 – 21 ปี จำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 30.71 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 7.74 และช่วงอายุต่ำกว่า 12 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 แสดงเป็นตาราง ดังนี้                           

ช่วงอายุ
จำนวน (N=790)
ร้อยละ
ช่วงอายุ 22 - 59 ปี
484
61.42
ช่วงอายุ 13 - 21 ปี
242
30.71
ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป
61
7.74
ช่วงอายุต่ำกว่า 12 ปี
1
0.13

ช่องทางการรับข่าวสาร พบว่า ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมจาก Facebook ของหอสมุดวังท่าพระ จำนวน 349 คิดเป็นร้อยละ 31.87 รองลงมา คือ จากป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 319 คิดเป็นร้อยละ 29.13 จากเพื่อน จำนวน 209 คิดเป็นร้อยละ 19.09 จากช่องทางอื่น ๆ จำนวน 107 คิดเป็นร้อยละ 9.77 จาก SULIB Line Official จำนวน 66 คิดเป็นร้อยละ 6.03 จากอาจารย์ จำนวน 45 คิดเป็นร้อยละ 4.11 แสดงเป็นตาราง ดังนี้

ช่องทางการรับข่าวสาร
จำนวน
ร้อยละ
Facebook ของหอสมุดวังท่าพระ
349
31.87
ป้ายประชาสัมพันธ์
319
29.13
เพื่อน
209
19.09
ช่องทางอื่น ๆ
107
9.77
SULIB Line Official
66
6.03
อาจารย์
45
4.11

สาเหตุที่มางาน พบว่า ส่วนใหญ่มางาน Book Fair เพราะมีหนังสือด้านศิลปะที่หลากหลาย (ร้อยละ 31.82) รองลงมา คือ มาชม/ซื้อผลงาน Illustration (ร้อยละ 27.23) มีหนังสือราคาถูก / มีส่วนลด (ร้อยละ 21.85) สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Workshop / กิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดขึ้น (ร้อยละ 15.35) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.10) และเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด (ร้อยละ 1.64) แสดงเป็นตาราง ดังนี้

สาเหตุที่มางาน
จำนวน
ร้อยละ
มีหนังสือด้านศิลปะที่หลากหลาย
485
31.82
มาชม/ซื้อผลงาน Illustration
415
27.23
มีหนังสือราคาถูก / มีส่วนลด
333
21.85
สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Workshop / กิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดขึ้น
234
15.35
อื่น ๆ
32
2.10
เลือกหนังสือเข้าห้องสมุด
25
1.64

ประเภทหนังสือหนังสือที่อ่าน/หนังสือที่ซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่อ่านและซื้อหนังสือในสาขาวิชา ดังนี้ คือ ประวัติศาสตร์ศิลปะ (ร้อยละ 13.81 และ 12.66) รองลงมา คือ ประวัติศาสตร์ (ร้อยละ13.29 และ 11.17) และนิยาย (ร้อยละ 11.56 และ 10.60) แสดงเป็นตาราง ดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือ/ผลงาน Illustration ในงาน พบว่า ส่วนใหญ่ใช้จ่ายในการซื้อหนังสือ/ผลงาน Illustration ในงานจำนวน ดังนี้ คือ 501 – 1,000 บาท (ร้อยละ 35.78) รองลงมา คือ ต่ำกว่า 500 บาท (ร้อยละ 35.15) ไม่ได้ซื้อในงานนี้ (ร้อยละ 20.61) 1,001 – 2,000 บาท (ร้อยละ 6.57) และมากกว่า 3,000 บาท (ร้อยละ 1.90) แสดงเป็นตาราง ดังนี้

จำนวนค่าใช้จ่าย
จำนวน (N=790)
ร้อยละ
501 – 1,000 บาท
283
35.78
ต่ำกว่า 500 บาท
278
35.15
ไม่ได้ซื้อในงานนี้
163
20.61
1,001 – 2,000 บาท
52
6.57
มากกว่า 3,000 บาท
15
1.90

ช่องทางการซื้อหนังสือ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ช่องทางการซื้อหนังสือ คือ ซื้อแบบรูปเล่ม จากร้านหนังสือทั่วไป / งานสัปดาห์หนังสือฯ (ร้อยละ 55.93) รองลงมา คือ ซื้อแบบรูปเล่ม สั่งจากช่องทางออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน (ร้อยละ 28.45) ซื้อแบบไฟล์ดิจิทัล ผ่านช่องทางออนไลน์และเก็บไว้บน Clouds / แอปพลิเคชัน (ร้อยละ 11.87) และปัจจุบันนี้ไม่ได้ซื้อ / เลิกซื้อหนังสือ (ร้อยละ 3.75) แสดงเป็นตาราง ดังนี้

ช่องทางการซื้อหนังสือ
จำนวน (N=790)
ร้อยละ
ซื้อแบบรูปเล่ม จากร้านหนังสือทั่วไป / งานสัปดาห์หนังสือฯ
641
55.93
ซื้อแบบรูปเล่ม สั่งจากช่องทางออนไลน์ให้มาส่งที่บ้าน
326
28.45
ซื้อแบบไฟล์ดิจิทัล ผ่านช่องทางออนไลน์และเก็บไว้บน Clouds / แอปพลิเคชัน
136
11.87
ปัจจุบันนี้ไม่ได้ซื้อ / เลิกซื้อหนังสือ
43
3.75

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการบริการวิชาการ Art Book Fair 2567 ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อกิจกรรมพบว่ามีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดและมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ คือ โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 การจัดตำแหน่ง/รูปแบบบูธในงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 การแจ้งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ระยะเวลาที่จัดงาน – 5 วัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และจำนวนร้านค้า > 40 ร้าน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 แสดงเป็นตาราง ดังนี้

รายการประเมิน (N=790)
S.D.
แปลความ
1. การแจ้งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์
4.26
0.74
มาก
2. ระยะเวลาที่จัดงาน - 5 วัน
4.25
0.73
มาก
3. จำนวนร้านค้า > 40 ร้าน
4.23
0.75
มาก
4. การจัดตำแหน่ง/รูปแบบบูธในงาน
4.34
0.68
มาก
5. การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่
4.47
0.62
มาก
6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
4.53
0.60
มากที่สุด
7. โครงการฯ สามารถส่งเสริมให้หอสมุดฯ เป็นศูนย์รวมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของช่วงวัยที่หลากหลาย
4.56
0.58
มากที่สุด
8. ความพึงพอใจในภาพรวม
4.57
0.59
มากที่สุด

        สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด

        ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ งานศิลปะมากมายได้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป (7 คน) workshop หนังสือทำมือฝึกสมาธิ ความใจเย็น ประณีตในการทำ มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ (5 คน) การได้เห็นหนังสือที่น่าสนใจหลากหลาย (5 คน) การแบ่งปันหนังสือที่มีเนื้อหาน่าสนใจ (5 คน) ชอบที่มี workshop แบบนี้ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และช่วยบำบัดจิตใจได้ดี สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพเสริมได้ ได้แนวคิดในการทำงานแฮนด์เมดชิ้นต่อไป (3 คน) หนังสือสร้างแรงบันดาลใจ (3 คน) แรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือ (3 คน) สามารถคัดเลือกหนังสือเข้าไปในห้องสมุดได้ เนื่องจากหนังสือบางเล่มมีราคาแพง (2 คน) ได้รับความรู้ในการทำสมุดทำมือ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการตกแต่งหน้าปกสมุดทำมือ (2 คน) การแบ่งปันสิ่งของ (หนังสือ, ต้นไม้) (2 คน)หนังสือใหม่ น่าสนใจ (2 คน) Creative anity crafthenship ความสร้างสรรค์ต่อยอดความคิด (1 คน) ร้านค้าของนักศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ (1 คน) Workshop น่าสนใจ หนังสือที่นำมาขายมีประโยชน์โดยตรงต่อการฝึกวาดภาพ และชอบที่ห้องสมุดแจกหนังสือฟรีค่ะ ได้รับกลับไปใช้ประโยชน์จริง ๆ (1 คน) หนังสือสามารถต่อยอดได้เอาไปเรียนได้ (1 คน) ได้ของที่ระลึกน่ารักๆ (1 คน) บูธของหนังสือด้านวิชาการ (1 คน) การออกแบบป้ายของหอสมุดวังท่าพระ (1 คน) การหาหนังสือเพื่อไปพัฒนาการออกแบบ (1 คน) แรงบันดาลใจการคิด Project และพัฒนาแบบ design (1 คน) ประทับใจประเภทร้านในงานมาก ๆ ร้านน่ารักหลายร้านเลย (1 คน) หนังสือที่ขายมีความน่าสนใจในทางมานุษยวิทยา (1 คน) การได้เลือกดูหนังสือที่สนใจและดูงานศิลปะ (1 คน) มีส่วนลดหนังสือให้ เหมาะกับการใช้จ่ายของนักศึกษา (1 คน) การอนุรักษ์หนังสือและเห็นคุณค่าของหนังสือ (1 คน) หนังสือความหมายดี ๆ (1 คน) อารมณ์ศิลป์และรักการอ่าน (1 คน) กิจกรรมหนังสือหายากมีที่นี่ (1 คน) ได้งานศิลปะสวยๆไปเก็บไว้เพื่อตกแต่งห้องสร้างบรรยากาศการทำงานและได้หนังสือวิชาการมาใช้ประกอบการสอน (1 คน) รูปแบการจัดงานและการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมงาน (1 คน) หนังสือเก่าและหนังสือไม่ได้ตีพิมพ์ เป็นฐานความรู้ของการศึกษาศิลปะยุคก่อน (1 คน) หนังสือลดราคา จับต้องได้ กระตุ้นการเรียนรู้ (1 คน) มีหนังสือด้านศิลปวัฒนธรรมและประเภทอื่น ๆ ที่น่าสนใจ (1 คน) จุดรวมองค์ความรู้หลากหลายแขน (1 คน) กิจกรรมในงานสร้างความประทับใจและทำให้มีความสุข (1 คน) ความหลากหลายของหนังสือทางด้านศิลปะ ช่วยขยายคลังความรู้และโลกทัศน์ (1 คน) สติ๊กเกอร์ในงานสร้างบันดาลใจ อยากวาดการ์ตูนต่อ (1 คน) บรรยากาศที่สนับสนุนการคิดสร้างใหม่ๆ (1 คน) ส่งสารสิ่งดี ๆให้กัน (1 คน) งานศิลปะสวยๆ และหนังสือน่าสนใจจนอยากจะทำงานสักอย่างหนึ่งขึ้นมา (1 คน) การเปิดโอกาสทางด้านการอ่านให้มีหัวข้อใหม่เพิ่มขึ้น (1 คน) หนังสือสามารถเปลี่ยนมุมมองชีวิตได้ (1 คน) ได้เพิ่มพูนความรู้ และได้อ่านหนังสือแนวใหม่ (1 คน) การทำ Workshop ซ่อมหนังสือ (1 คน) ประทับใจวิทยากรผู้สอนทำสมุด ใส่ใจและทั่วถึง (1 คน) เรียนรู้การทำหนังสือทำมือ วิธีการเย็บ (1 คน) เป็นการทำหนังสือทำมือครั้งแรก ไม่ได้ยากอย่างที่คิด สนุกมาก ๆ เพิ่มความพิเศษได้ 1 อย่าง (วิทยากรน่ารักมาก ๆค่ะ) (1 คน) ออกแบบปกสมุด และนำวิธีทำสมุดไปสอนคนอื่นต่อ (1 คน) การทำหนังสือทำมือ สนุกดี มีประโยชน์ด้วย (1 คน) นำไปจัดกิจกรรมในงานที่เกี่ยวข้องกับที่ทำงานได้ (1 คน) สามารถนำความรู้ที่ได้จากพี่ๆมนเรื่องเย็บสมุดไปทำต่อเองได้ หรือสามารถนำไปต่อยอดเป็นรายได้ได้ (1 คน) เป็นกิจกรรมที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน และผู้ร่วมกิจกรรมคนอื่น ๆ (1 คน) การทำงานเดคูพาจ สามารถนำไปปรับใช้กับสิ่งอื่นได้ เช่น เคสมือถือ เครื่องประดับต่าง ๆ (1 คน) นำไปทำสมุดรีไซเคิลได้ , ฝึกทักษะการทำหนังสือทำมือ (1 คน) workshop หนังสือทำมือ สามารถนำไปสร้างอาชีพได้จากงานฝีมือที่ทำ เพิ่มทักษะ (1 คน) workshop หนังสือทำมือ ได้ความรู้ไปสอนคนอื่น ๆ ต่อได้ (1 คน) เกิดไอเดียใหม่ๆ การมีกิจกรรมที่น่าสนใจทำให้มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ พี่ๆที่ช่วยสอนน่ารักมาก สอนได้ละเอียด มีอุปกรณ์พร้อมเพียง (1 คน) workshop หนังสือทำมือ ทำให้ช่วยให้รู้จักตัวเองและเกิดความคิดสร้างสรรค์ (1 คน) การทำหนังสือเสริมการการคิดวางแผน และการออกแบบ  (1 คน) การได้ลองจัดเลเยอร์ ออกแบบภาพตัดปะบนปกหนังสือ/การเย็บสันหนังสือเข้าด้วยกัน (1 คน) art and Craft เป็นงานที่ควรได้รับการสนับสนุน (1 คน) เทคนิคการเย็บกี่ของสมุดทำมือเจ้าหน้าที่น่ารัก เอาใจใส่ (1 คน) จิตใจที่สงบและมีความสุขในการทำงาน (1 คน) ได้ใช้เวลากับตัวเอง ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาแล้วเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานฝีมือ (1 คน) ประทับใจคนสอนสมุดทำมือใจเย็นมาก (1 คน) เอาวิธีทำสมุดทำมือไปทำสมุดสเกตต่อเองได้ สามารถสร้างรายได้ได้ (1 คน) การฝึกเย็บกี่และการทำสมุดใช้เอง (1 คน) การฝึกงานฝีมือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ (1 คน) workshop หนังสือทำมือ อาจจะนำไปสร้างรายได้ในอนาคตและนำไปทำสมุดแจกเด็กนักเรียนได้ (1 คน) ชอบการได้หัดทำงานฝีมือ โดยมีวิทยากรสอนอย่างใกล้ชิด วิทยากรน่ารักและใจเย็นมากค่ะ (1 คน) workshop หนังสือทำมือ นำไปต่อยอดตามความสนใจ เป็นงานอดิเรกหรืออาชีพในอนาคตได้  (1 คน) การทำสมุดได้เองที่สามารถนำวัสดุอื่นที่ตนเองสนใจมาต่อยอดได้ เป็นสมุดที่บ่งบอกความเป็นตัวเอง (1 คน)

          (หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 63  คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ มีการประชาสัมพันธ์ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ข่าวสารสามารถส่งต่อได้อย่างทั่วถึง ทั้งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก (19 คน) มีจำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นและเพิ่มความหลากหลาย (7 คน) ขยายวันเวลาและวเลาในการจัดงาน (7 คน) การป้ายบอกทางและแผนผังงาน (6 คน) การจัดกิจกรรม Workshop ที่หลากหลาย สามารถ walk-in เข้ามาร่วมกิจกรรมได้  สำหรับบุคคลทั่วไป/เด็กนักเรียน (4 คน) หนังสือด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี น้อยเกินไป (3 คน) อยากได้ร้านหนังสือมือสอง (3 คน) อยากให้มีบรรยากาศเล่นดนตรีสดภายในงาน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการเดินชมบูธต่าง ๆ (2 คน) อยากให้มีหนังสือของ springbok (1 คน) ซื้อหนังสือมังงะ นิยายวาย (1 คน) อยากมีร้านขายหนังสือ นายอินทร์ บีทูเอส มาเปิดร่วมด้วยค่ะ หนังสือที่สนใจในงานนี้ยังไม่ค่อยมีเท่าไหร่ (1 คน) มีส่วนลดมากกว่านี้ (1 คน) ขอร้านของเล่นเยอะๆค่ะ (1 คน) อยากใหมีหนังสือประเภทอื่นที่ไม่ใช่หนังสือศิลปะเช่น นิยาย มากขึ้น เพราะบางสาขาจำเป็นต้องใช้ (1 คน) จำนวนร้านหนังสือควรมีมากกว่านี้ ความหลากหลายของหนังสือด้านประวัติศาสตร์ หนังสือมือสองสำคัญมาก นักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้จะได้เข้าถึง (1 คน) การรปะสานงานสถาบันการศึกษาอื่นให้เข้ามาร่วมงาน ร่วมกิจกรรม (1 คน) อยากให้มีหนังสือกรมศิลปากรมาขายในราคาถูก (1 คน) ตัวของปกหนังสือทำมืออยากให้มีความหลากหลายมากขึ้น (1 คน) ชื่นชอบกิจกรรมแบบนี้ อยากให้มีอีกเรื่อย ๆ (1 คน)

          (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 23 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ อยากให้เปิดเพลงผ่อนคลาย (3 คน) มีงานเสวนาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี  (3 คน) อยากให้มีการจัดเสวนาวิชาการโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย (2 คน) อยากให้มีกิจกรรม Workshop มากกว่านี้ และจัดหลายรอบ เพราะนักศึกษาบางคนก็มาเข้าร่วมไม่ได้เพราะติดเรียน (2 คน) มีศิลปินหรือนักเขียนมาเสวนาหรือพูดคุยเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ (1 คน) ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนกว่านี้ เรื่องการรับสมัคร workshop ต่าง ๆ (1 คน) อยากให้อาจารย์จากหลายๆสถาบันมาแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมอง เช่น อ.ชาตรี ประกิตนนทการ, คุณธวัชชัย กอบกัยกิจ แห่ง TK Studio, เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, Producer concert (1 คน) มีการจัดเสวนาบอกเล่าประสบการณ์ทำสารคดีในยูทูป (1 คน) มีกิจกรรมเล่นเกมส์ร่วมสมุก (1 คน) มีการจัดเสวนาเกี่ยวกับศิลปกรรมในกรุงเทพมหานคร (1 คน) แบ่งโซนหนังสือ ผลงานศิลปะ และอาหารออกจากกันให้ชัดเจน (1 คน) workshop เกี่ยวกับ art / illustration (1 คน) workshop เกี่ยวกับงานประดิษฐ์ (1 คน) มีการจัดเสวนาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (1 คน) workshop เกี่ยวกับงานศิลปะไทย (1 คน) อยากให้มีหนังสือหลากหลายมากขึ้น เช่น นิยายวาย นิยายยูริ (1 คน) กิจกรรมแลกเปลี่ยนหนังสือ (1 คน)

         1.2 ผลการประเมินผู้จำหน่ายสินค้า พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 ร้าน แบ่งเป็นร้านจำหน่ายหนังสือ จำนวน 9 ร้าน ร้านจำหน่ายผลงานสร้างสรรค์ (Illustration) จำนวน 13 ร้าน ร้านจำหน่าย Ebook จำนวน 1 ร้าน ร้านอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 5 ร้าน ร้านเกมส์ 1 ร้าน และร้านกิจกรรมของนักศึกษา 1 ร้าน นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

         รายได้จากการจำหน่ายสินค้า พบว่า ผู้จำหน่ายสินค้าสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้า ดังนี้ คือ รายได้ต่ำกว่า 10,000 (ร้อยละ 37.04) รายได้ 10,001 -20,000 (ร้อยละ 33.33) รายได้ 20,001 -40,000 (ร้อยละ 14.81) รายได้ 40,001 -60,000 (ร้อยละ 11.11) และรายได้ 60,001 -80,000 (ร้อยละ 3.70) แสดงเป็นตาราง ดังนี้

รายได้จากการจำหน่ายสินค้า
จำนวน (N=27)
ร้อยละ
ต่ำกว่า 10,000
10
37.04
10,001 -20,000
9
33.33
20,001 -40,000
4
14.81
40,001 -60,000
3
11.11
60,001 -80,000
1
3.70

ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้จำหน่ายสินค้าโครงการบริการวิชาการ Art Book Fair 2567  พบว่า ความพึงพอใจของผู้จำหน่ายสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากและปานกลางเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ความเหมาะสมของสถานที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 การจัดตำแหน่ง/รูปแบบบูธในงาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ระยะเวลาที่จัดงาน – 5 วัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และการแจ้งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87แสดงเป็นตาราง ดังนี้

รายการประเมิน (N=27)
S.D.
แปลความ
1. การแจ้งข้อมูลและการประชาสัมพันธ์
3.87
0.91
ปานกลาง
2. ระยะเวลาที่จัดงาน - 5 วัน
4.00
0.98
มาก
3. ความเหมาะสมของสถานที่
4.33
0.73
มาก
4. การจัดตำแหน่ง/รูปแบบบูธในงาน
4.17
0.85
มาก
5. การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่
4.43
0.97
มาก
6. ความพึงพอใจในภาพรวม
4.33
0.93
มาก

          สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมงานคือส่วนใด

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ/ประทับใจ และสามารถนำไปต่อยอดได้จากการเข้าร่วมกิจกรรม 17 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ หลายเมนูฟิวชั่นของร้านมาจากแนวคิดของน้อง ๆ เมื่อปีก่อนที่ได้มีโอกาสมาเข้าร่วม เราได้นำมาผสมผสานให้ลงตัว (1 คน) เจ้าหน้าที่ดูแลดี นิสิต อาจารย์สนใจงานเฉพาะกลุ่ม อาจนำไปปรับให้ตรงจุดกับการขายมากยิ่งขึ้น (1 คน) จัดงานดีและมีป้ายประชาสัมพันธ์มีกองอำนวยการบอกลายละเอียดให้ข้อมูลดีมากค่ะ (1 คน) มีกิจกรรมโชว์เวทีวาดรูปในระยะสั้นคนละ 5 นาทีอยากสื่ออะไรให้เคนมาดู (1 คน) พัฒนาปรับปรุงในการจำหน่ายของราคาย่อมเยาว์ให้เหมาะกับนศ. (1 คน) ความมีเสน่ห์ของสถานที่ ผู้คนที่มาเยี่ยมชม (1 คน) การโทรบอกรายละเอียดแบบโดยตรงกับผู้ออกบูธ (1 คน) พูดคุยกับคนที่มาเยี่ยมบูท ได้รับกำลังใจ และส่งต่อกำลังใจ/แรงบันดาลใจ (1 คน) ที่ชอบมากคือการเเจกต้นไม้ค่ะ เป็นของเเจกที่ดีมากๆเลยค่ะ ทั้วมีวิธีการดูเเลให้ด้วย ขอบคุณมากนะคะ ที่คิดงานสร้างสรรค์เเบบนี้ออกมาค่ะ เเละชอบที่มีเวิร์คช้อปเทอราเรี่ยมด้วย (หากจัดจริงจังได้หลายวัน เเบบเป็นช่วงเวลาซักช่วงหนึ่งของทุกๆ วัน เราว่าน่าจะดีมากเลยค่ะ เเบบคนน่าจะสนใจเยอะเลยน่ะค่ะ 🙂 (1 คน) ได้ทราบว่ามีกิจกรรมนี้ในมหาลัยกลางเมืองเก่าเล็กๆ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าต่อ ๆ ไปค่ะ (1 คน) จะต้องเตรียมเนื้ออบให้เยอะกว่านี้ (1 คน) การทำประชาสัมพันธ์ แบบ Live ทางช่องทางโซเชียลมีเดีย (1 คน) ได้ทำความรู้จักกับผู้ร่วมออกบูธคนอื่น ๆ และได้รับไอเดียใหม่ๆ (1 คน) การปลูกต้นไม้ การได้ใส่ใจสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ (1 คน) มิตรภาพและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนที่พบเจอจากในงาน เช่นทีมงาน บูธต่าง ๆ หนังสือที่ร้านต่าง ๆ นำมาวางน่าสนใจเป็นอย่างมาก (1 คน) ประทับใจการที่ได้เห็นคนในมหาวิทยาลัย ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมถึงบุคคลภายนอกได้มาทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันและมีโอกาสได้พูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ,ชอบ workshop ทำสวนในขวดแก้วมากค่ะ อยากให้จัดอีก (1 คน) การดูแลและการเอาใจใส่ของทีมงานที่บริการดีครับ (1 คน)

          (หากมี) ช่วยกระซิบบอกส่วนที่ท่านอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการกระซิบบอกส่วนอยากให้ปรับปรุงมากที่สุด จำนวน 16 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ ลักษณะการจัดงานของโซน a และ b ถูกแยกขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิงทำให้ลูกค้าบางท่านที่ไม้ได้เดินสำรวจทั่ว ๆ ไม่รู้ว่าด้านในยังมีการจัดงานอยู่ ถ้าเป็นไปได้บริเวณสนามบาสซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างส่ง a กับโซน b ควรมีเต็นท์ตั้งเรียงกันไปเป็นการนำทางไปสู่ด้านใน (1 คน) อยากให้ร้านหนังสือหรือร้านอาหารอยู่จุดเดียวกันเพราะบางครั้งอยู่ไกลลูกค้าอาจเข้าไปได้ไม่ถึงค่ะ (1 คน) มีลานพื้นที่ฟังเพลง เวิร์คช้อป คนค่อนข้างมาน้อยอยกให้คนมาเวลาค่ำเลิกงาน 2 ทุ่ม (1 คน) จัดงานผมว่า 3 วันกำลังดี 5 วันมากไปหน่อยยอดขายจะอยู่ที่ 2 วันแรกเท่านั้นวันหลังไม่ได้เลย (1 คน) อยากให้ลองคิดวิธีการดึงคนนอก/ประชาชนทั่วไป เข้ามาเดินในงานมากกว่านี้ อาจมีการ partner กับสื่อใหญ่ๆ และสร้างเป็นตีมขึ้นมาดึงดูดคน (เช่น The Cloud งานเจ้าชายน้อย) ให้มาออกบูธด้วยหรือจัดกิจกรรมร่วมกัน จะช่วยดึงคนนอกให้มามากขึ้นได้อย่างดี เพราะงานนี้มีจำนวนนศ.มากแต่รายได้น้อย และต้องรอจังหวะนศ.พักเป็นช่วง ๆ จึงทำให้ยอดขายไม่ค่อยมากค่ะ (1 คน) อยากให้มีป้ายหรือการสื่อสารเชิญชวนให้บุคคลภายนอกหรือนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาในงานได้มากขึ้น (1 คน) การประชาสัมพันธ์ (1 คน) อยากให้มีพัดลม ในปีนี้ยังไม่มีการสร้างกิจกรรมที่จะดึงดูดคนเข้ามาสนใจมากเท่าไหร่ (1 คน) อยากให้มีปลั๊กทุกบูท, โปรโมทให้มากขึ้น(จากคนรู้จักและคนในวงการรอบตัวไม่ทราบถึงงานนี้ค่ะ) (1 คน) น่าจะเรื่องการเดินสายไฟเเค่นั้นเลยค่ะ ส่วนอื่น ๆ เมื่อดูหน้างาน อย่างสถานที่การจัดบูธ สำหรับเรา คิดว่ามันโอเคมากเเล้วค่ะ ท่ามกลางข้อจำกัดต่าง ๆ เเต่หากได้ ส่วนตัวก็คิดว่าการจัดผังบูธตามทางเดินเล็ก ๆ บางส่วนอาจไม่ควรไว้ส่วนนั้นเเบบพอมีบูธเดียวเดี่ยว ๆ คนอาจไม่ค่อยสนใจเข้าไป คือหากเอามารวมกันที่จุดใดจุดหนึ่ง อาจดึงดูดให้คนอยากมาเดินดูมากกว่าน่ะค่ะ (1 คน) การประชาสัมพันธ์เรื่องจุดลงของและการจอดรถ อาจจะต้องมีการกระจายสตาฟตั้งแต่หน้าประตู เผื่อผู้ที่มาออกบูธใหม่ มาครั้งแรกไม่ทราบทิศทางค่ะ (1 คน) อากาศร้อนมาก (1 คน) อยากให้ดูเรื่องช่วงเวลาในการจัดงานให้เหมาะสมขึ้น เนื่องจากทราบมาว่า นศ. หลายคณะติดส่งงานช่วง Final จึงไม่ได้เข้ามหาลัย และบางคณะเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์เนื่องจากติดงานกราบพระบรมสารีริกธาตุ (1 คน)รู้สึกว่าระยะเวลาการจัดงานค่อนข้างนาน จาก 5 วันลดเหลือ 3-4 วันน่าจะพอค่ะ ในส่วนของการอำนวยสะดวกคิดว่าน่าจะมีการเดินไฟสำหรับแต่ละบูธไว้ให้แล้ว ราคาการออกบูธค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจำนวนลูกค้าค่ะ (1 คน)ลดวันจัดงานลงเป็น 2-3 วันก็พอ (1 คน) บรรยากาศในงานค่อนข้างเงียบเหงานิดหน่อย (1 คน)   

         (หากมี) ช่วยบอกเราอีกนิดว่าคุณคาดหวังสิ่งใดในการจัดงานครั้งต่อไป เช่น รูปแบบการจัดงาน หัวข้อ หรือวิทยากรที่ท่านอยากฟัง ฯลฯ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบอกสิ่งที่คาดหวังในการจัดงานครั้งต่อไป จำนวน 16 คน นำเสนอในประเด็นดังนี้ คือ อยากให้มีเวิร์คช็อปงานศิลปะ^^  (1 คน) อยากให้เพิ่มกิจกรรม เช่นเล่นดนตรีช่วงใดช่วงหนึ่งเพื่อเพิ่มความสนใจมากยิ่งขึ้น (1 คน) จัดสถานที่ดีมาก (1 คน) จำนวนวันที่จัดงาน (1 คน) อยากให้การจัดงานมีผู้เข้าชมและผู้ออกร้านมากขึ้น มีกระแสการตอบรับที่ดียิ่งๆขึ้น (1 คน) การประชาสัมพันธ์ในเรื่องรูปแบบงานให้บุคคลทั่วไป (1 คน) อยากให้สร้างกิจกรรมที่ผู้คนสนใจมากขึ้น (1 คน) อยากให้สามารถฟังที่จัด talk ได้ทั่วถึง (ตำแหน่ง A ไม่รู้เลยว่าพูดอะไรตอนไหน) ชอบที่มีกิจกรรมอย่างเย็บหนังสือ หรือจัดต้นไม้ เอาอีกค่ะ (1 คน)  อาจจะมีกิจกรรมเพิ่มเติมเช่น อ่านหนังสือให้คนตาบอดฟังโดยการรับอาสาสมัครข้างนอกเข้ามา เป็นแชร์ลิตี้เพิ่มภาพลักษณ์มหาลัย (1 คน) อยากให้มีสถานที่กว้างขึ้น (1 คน) อาจจะเพิ่มในส่วนของลานกิจกรรม – workshop เล็ก ๆ ให้ นศ. ได้มาเข้าร่วม (1 คน) หากมีการทำร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ อาจช่วยเพิ่มการประชาสัมพันธ์ และผู้คนที่จะสนใจมางานค่ะ เช่น TCDC, The Cloud เป็นต้น ในส่วนของงานศิลปะ อยากให้มีบูธงานศิลปะมากขึ้น มีศิลปินที่หลากหลาย เช่นศิลปินที่เป็นที่รู้จักมาก กลาง และมือใหม่ มี talk จากศิลปิน ในส่วนของหนังสือ อยากให้มีร้านหนังสือมากขึ้น มีกิจกรรม talk เกี่ยวกับหนังสือบางเรื่อง เชิญนักเขียนหรือนักรีวิวหนังสือมาพูดเช่น คุณนิ้วกลม เป็นต้นค่ะ (1 คน) สนใจหัวข้อบรรยายที่เกี่ยวกับการทำงานในสายอาชีพคนทำหนังสือ เช่น ผู้แปล ผู้ออกแบบปก ฯลฯ ด้วยความที่มหาลัยฝั่งวังท่าพระก็มีคณะสายศิลปะเยอะ ถ้าเชิญคนที่ทำงานสายนี้หรือพี่ๆ ศิษย์เก่ามาแนะแนวทางให้ก็คิดว่าน่าสนใจมาก ๆ ค่ะ (1 คน) ดึงนักท่องเที่ยวจากด้านนอกเข้ามาชมงานให้มากขึ้น, มีดนตรีเบาๆเพิ่มบรรยากาศ (1 คน) บรรยากาศภายในงาน  ควรมีดนตรีบรรเลงสด หรือกิจกรรมให้ผู้เข้าชมงานมีส่วนร่วมมากกว่านี้  เพื่อเพิ่มความน่าสนใจแก่นิทรรศการให้มีผู้คนเข้าร่วมมากยิ่งขึ้น (1 คน) ขยายการจัดงานในเวลาภาคค่ำ และเพิ่มกิจกรรมเวิร์คช็อป (1 คน)    

        2. กิจกรรมอบรมหนังสือทำมือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 83 คน พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.88

        3. กิจกรรมแบ่งปันหนังสือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 367 คน สามารถแบ่งปันหนังสือ จำนวน 773 เล่ม พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.67

        4. กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “อาจารย์ศิลป์ กับงานเหรียญอันทรงคุณค่า” ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.70

        5. กิจกรรมเสวนาหัวข้อ “100 ปี การเดินทางมาถึงสยาม ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 17 คน พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.65

       สรุป

       โครงการบริการวิชาการ Art Book Fair มีผลสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัดโครงการ โดยเชิงปริมาณจำนวนการจัดกิจกรรม 5 กิจกรรม ซึ่งบรรลุเป้าหมายโครงการ เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวมทั้งโครงการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 (ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ความพึงพอใจของร้านค้า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ความพึงพอใจกิจกรรมอบรมหนังสือทำมือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 ความพึงพอใจกิจกรรมแบ่งปันหนังสือ ค่าเฉลี่ย 4.67 ความพึงพอใจกิจกรรมเสวนาหัวข้อ “อาจารย์ศิลป์ กับงานเหรียญอันทรงคุณค่า” ค่าเฉลี่ย 4.70 และความพึงพอใจกิจกรรมเสวนาหัวข้อ “100 ปี การเดินทางมาถึงสยาม ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” ค่าเฉลี่ย 4.65 )

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Shopping Basket
   หอสมุดวังท่าพระ
   หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
   หอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
   สำนักงานสำนักหอสมุดกลาง