การอนุรักาื

การอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี

การอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี

“การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการเลี้ยง เศรษฐกิจ และความต้องการลักษณะภายนอกด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี โดยเก็บข้อมูลมจากเกษตรกรผู้เลี้ยงควายในจังหวัดอุดรธานี จํานวน 150 ราย และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ปราชญ์ควายไทยอุดรธานี จํานวน 20 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการเลี้ยงควายเพียงพอ แรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงควาย 1-2 คนต่อฟาร์ม มีประสบการณ์เลี้ยงควายส่วนใหญ่ 6 -10 ปี มีจํานวนควายต่อฟาร์มส่วนใหญ่ น้อยกว่า 5 ตัว มีคอกและโรงเรือนเฉพาะในการเลี้ยงควาย ใช้หญ้าสดและฟางข้าวเป็นอาหารหยาบ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้การผสมจริงและผสมเทียม และมีรายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อปี จากการขายพ่อและแม่พันธุ์ควายและปุ๋ยคอก เกษตรกรพบปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงควายในระดับปานกลาง มีความต้องการระดับมากในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เกษตรกรตัดสินใจคัดเลือกควายสำหรับการผสมพันธุ์ด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ โดยต้องการคัดเลือกลักษณะควายพ่อและแม่พันธุ์ในระดับมากจากใบพันธุ์ประวัติ การประกวดควาย และโครงสร้างลักษณะภายนอกตามอุดมทัศนีย์ควายไทย ระดับการศึกษาและประสบการณ์ของเกษตรกรที่แตกต่างกัน มีสภาพปัญหาการเลี้ยงควายและความต้องการองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกควายพ่อและแม่พันธุ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)” หน้า 113.

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่:

กชกร สายพัฒน์, วลัยลักษณ์ แก้ววงษา, และ และฤทธิชัย พิลาไชย. (2566). การศึกษาสภาพการเลี้ยง เศรษฐกิจ และความต้องการลักษณะภายนอกด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยในจังหวัดอุดรธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 20(1), 113-119. https://li01.tci-thaijo.org/…/pajrmu/article/view/258622

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อ “พี่พร้อม” ได้ที่
Email : sus.ref2011@gmail.com
Website : http://www.snc.lib.su.ac.th
Facebook Fanpage : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
Instagram : suslibrary
X : suslibrary
Tiktok : suslibrary
Tel : 081-3272881

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 1]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Tags: No tags

Comments are closed.