ตัวอย่างProject Report #2

โครงการ 80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ถึง 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จาก ท่าพระ สู่ ท่าพระจันทร์

principle and reason

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมือกันจัดงานเฉลิมฉลองวาระครบรอบการสถาปนา 80 และ 90 ปีของมหาวิทยาลัยร่วมกัน ผ่านกิจกรรม “2 ท่า 2 วัง” เนรมิตพื้นที่ท่าพระ-ท่าพระจันทร์ เป็นเทศกาลศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เตรียมจัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ตลอดเดือนพฤศจิกายนนี้ พร้อมประเดิมเป็นส่วนหนึ่งของ Colorful Bangkok 2023 หมุดหมายการท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานคร

          เนื่องด้วยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากรจากวิสัยทัศน์ที่หลากหลาย ทั้งปูพื้นฐานการศึกษาศิลปะขั้นสูงเพื่อผลิตบุคลากรทางศิลปะ ริเริ่มแนวทางการบ่มเพาะให้ประชาชนไทยนิยมศิลปะ อีกทั้งผลักดันให้นานาชาติรู้จักศิลปะของไทย เห็นได้จากการริเริ่มจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้นใน พ.ศ.2492 เพื่อยกระดับศิลปะของไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ผลักดันให้ศิลปินเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับในสังคม นอกจากนี้ความพยายามยกระดับให้อาชีพศิลปินเป็นที่ยอมรับและสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยการจำหน่ายผลงาน เป็นสาเหตุให้อาจารย์ศิลป์ตระหนักถึงความสำคัญของการมีหอศิลป์สมัยใหม่ให้การจัดแสดงและการจำหน่ายผลงานศิลปะเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน อาจารย์ศิลป์ได้เขียนบทความเรียกร้องให้เห็นถึงความสำคัญของการมีหอศิลป์สมัยใหม่

นำไปสู่การที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้เชิญอาจารย์ศิลป์มาหารือเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยรัฐบาลจะออกงบประมาณให้ครึ่งหนึ่ง และให้อาจารย์ศิลป์กับพรรคพวกในวงการศิลปะร่วมกันระดมทุนอีกครึ่งหนึ่ง แต่แผนการนี้ยังไม่ทันสำเร็จ อาจารย์ศิลป์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ถึงกระนั้น การระดมทุนเพื่อสร้างหอศิลป์ตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ศิลป์ยังคงดำเนินต่อไป ในที่สุด “หอศิลป พีระศรี” ได้ก่อตั้งขึ้นสำเร็จและเปิดเป็นทางการในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งตรงกับวันถึงแก่กรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ครบปีที่ 12 จึงเป็นพื้นที่ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์อีกแห่งหนึ่งที่จัดการแสดงทางศิลปะหลากประเภท เป็นที่พบปะเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจงานด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกให้แก่คนรักศิลปะ นอกเหนือไปจากการชมงานนิทรรศการในหอศิลป์ของรัฐ แกลเลอรีเอกชน หรือการประกวดศิลปกรรมเวทีต่าง ๆ ในขณะนั้น

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปะและการออกแบบที่ตั้งอยู่ในวังท่าพระ จัดโครงการ 80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ถึง 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จาก ท่าพระ สู่ ท่าพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่คุณูปการของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งสองมหาวิทยาลัยนี้ผูกพัน สร้างเสริมปูทางให้วงการศิลปะไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา และได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาวงการศิลปะ รวมถึงการเชื่อมต่อองค์ความรู้ภายในประชาคมศิลปากรสู่ชุมชนภายนอก เพื่อช่วยสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต (Borderless Learning Society)

Objectvie

วัตถุประสงค์

3.1  เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวางรากฐานของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวงการศิลปะไทยในรูปแบบนิทรรศการ

strategic response

ตอบสนองยุทธศาสตร์

Project Responsible

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง

location

สถานที่ดำเนินงาน

ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

project success indicator

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ

project performance

ผลการดำเนินงาน

นิทรรศการ “2 ท่า 2 วัง 2 อาจารย์ อุดมการณ์ศิลปะเพื่อสังคม” เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายหอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 20 พฤศจิกายน 2566 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน จากการแจกแบบสอบถามแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 61 ชุด คิดเป็นร้อยละ 76.25 ของผู้เข้าร่วมในกิจกรรม ผลการประเมินกิจกรรม นำผลมาวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

สถานภาพ พบว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 98 รองลงมานักเรียน/นักศึกษา/อาจารย์ ต่างสถาบัน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 36.07 นักศึกษาปริญญาตรี มศก. จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 13.11 ศิษย์เก่า จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.56 อาจารย์ มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.64 และสายสนับสนุน มศก. จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.64 แสดงเป็นตารางและแผนภูมิ ดังนี้

 

No Data Found

photo

ภาพกิจกรรม

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]

ข้อมูลนี้มีประโยชน์หรือไม่

Thanks for your feedback!
Tags: No tags

Comments are closed.